หมวด A

ACH (Air Changes Per Hour)

คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศผ่านเครื่องฟอกอากาศครบทั้งปริมาตรของห้อง ต่อหนึ่งชั่วโมง เช่น 5 ACH = 5 รอบต่อ 1 ชั่วโมง

Note : หากไม่มีระบบ HVAC แต่ต้องการเพิ่ม ACH สมารถทำได้โดยการเปิดประตู หรือ หน้าต่าง

AC (Air Conditioner)

คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป

AFUE (Annual Fuel Efficiency Ratio)

คือ ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น (Btu/hr.)

 

หมวด B

BTU (British Thermal Unit)

คือหน่วยวัดค่าพลังงานความร้อนตามมาตรฐานสากล หากแต่เมื่อใดที่ BTU. ถูกนำมาใช้ในเรื่องของเครื่องปรับอากาศ เมื่อนั้นจะหมายถึงความสามารถในการทำความเย็น การถ่ายเทความร้อนออกจากห้องภายในเวลา 1 ชั่วโมง

การวัดพลังงาน (ความร้อน) ที่ใช้เพื่อระบุอัตราการทำความเย็น การลดความชื้น หรือการให้ความร้อนในระบบ HVAC หนึ่งบีทียูคือปริมาณพลังงานที่จำเป็นในการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำบริสุทธิ์หนึ่งปอนด์ขึ้นหนึ่งองศาฟาเรนไฮต์

หมวด C

Chiller เครื่องทำความเย็น

Coil ท่อนำน้ำยาในระบบของเครื่องทำความเย็น

Condenser Coil

คอนเดนเซอร์ (คอยล์ร้อน) หรืออาจจะเรียกว่า เครื่องควบแน่น คือ อุปกรณ์ภายในระบบทำความเย็น มีหน้าที่ นำความร้อนออกจากระบบ

Controller ชุดควบคุมการทำงานของเครื่องทำความเย็น

หมวด D

Ductwork ระบบท่อส่งลม

Dehumidifier อุปกรณ์ลดความชื้นในอากาศ

Diffuser ตัวช่วยในการกระจายลมไปในทิศทางที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอ

 

หมวด E

Evaporator Coil

คอยล์เย็น (Evaporator) เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนจากบริเวณที่ต้องการทำความเย็น ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคู่ไปกับสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ โดยทำให้สารทำความเย็นเดือดจนมีสถานะกลายเป็นไอและสามารถดูดซับความร้อนจากพื้นผิวของคอยล์เย็นได้”

 

หมวด F

Fresh Air Intake

อากาศใหม่ หรือ fresh air ในระบบปรับอากาศ หมายถึง อากาศจากภายนอกพื้นที่ปรับอากาศถูกดูดเข้ามาปรับคุณภาพทางอากาศแล้วส่งเข้ามายังพื้นที่ปรับอากาศ เพื่อให้อากาศใหม่มาระบายหรือไล่อากาศที่มีคุณภาพต่ำกว่าให้ออกนอกบริเวณ ทำให้อากาศในบริเวณนั้นมีความสะอาดมากขึ้นกว่าเดิม

 

หมวด G

Grille หัวจ่ายลม

 

หมวด H

Heating Coil

ขดลวดความร้อนคือ heating coil คือการนำลวดความร้อน ลวดนิโครม มาดัดเป็นวงสปริงตามขนาดต่างๆที่ต้องการ มักกำหนด ด้วย ความโตของขดลวด OD ,ความต้านทาน โอห์ม,กำลังวัตต์ ,ความยาวของขดลวด,ชนิดของขั้วชุด ขดลวดความร้อน แบบเส้นเดียว แบบตีเกลียว หรือแบบเกลียวสแตนเลส,การทำขดลวดความร้อน,ขดลวดความร้อนเตาไฟฟ้า

Heat Pump

ฮีทปั๊ม (Heat Pump) เป็นชุดอุปกรณ์ทำความร้อนที่ใช้ Compressor แบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ มาดึงความร้อนจาก อากาศภายนอกที่อุณหภูมิ ปกติแล้วถ่ายเทความร้อนให้แก่น้ำหรือลมร้อน ส่วนความเย็นที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นผลพลอยได้ เพื่อทำลมเย็นใช้ร่วมในการปรับอากาศ หรือนำไปผสมกับ Fresh air เพื่อเข้าเครื่องทำความเย็นต่อไป

Heat Transfer การถ่ายเทความร้อน (อังกฤษ: heat transfer) คือการถ่ายเทของพลังงานความร้อน.

HVAC ระบบปรับอากาศ HVAC ย่อมาจาก Heating, Ventilation, and Air-conditioning ซึ่งเป็นระบบความร้อน ความเย็น และการระบายอากาศ

 

หมวด O

OAT (Outside Air Temperature) อุณหภูมิโดยรอบ (ambient temperature) หมายถึง อุณหภูมิของบรรยากาศภายนอกอาคาร

 

หมวด P

Packaged Unit or RTU (Rooftop Unit) ทำหน้าที่ปรับและหมุนเวียนอากาศ สำหรับการใช้งานภายนอกบนหลังคา

Plenum Space บริเวณช่องว่างเหนือฝ้าที่มีอากาศไหลเวียน (Plenum Space)

 

หมวด R

Radiation รังสี (radiation) คือ พลังงานที่แผ่มาจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งซึ่งอาจสามารถทะลุผ่านวัตถุชนิดต่างๆได้.

Refrigerant สารทำความเย็น (Refrigerants) เป็นตัวกลางสำคัญในการทำให้เกิดความเย็น เพราะสารนี้จะเดินทางไปที่ทุกอุปกรณ์สำคัญที่ทำให้เกิดความเย็นของระบบทำความเย็น (Refrigeration System) ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยคุณสมบัติในตัวเองที่สามารถดูดซับและนำพาความร้อนด้วยการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวให้เป็นไอ

 

หมวด S

SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานตามฤดูกาลของเครื่องปรับอากาศ แต่ SEER จะนำค่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเครื่องปรับอากาศมาพิจารณาร่วมด้วย ทำให้มีความใกล้เคียงกับสภาพการใช้พลังงานจริงมากขึ้นกว่าการกำหนดแบบ EER.

Split System (Zoned) พื้นที่แยกส่วน

Subcooling ค่าอุณหภูมิของเหลวเย็นยิ่ง (Subcooling Temperature) : คืออุณหภูมิของสารทำความเย็นในสถานเป็นของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิควบแน่น (condensing temperature) ซึ่งจะเกิดขึ้นกับสารทำความเย็นในระบบเมื่อออกจากคอนเดนเซอร์ ทั้งนี้เราต้องการให้มีค่าของเหลวเย็นยิ่งเกิดขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความเย็นของสารทำความ

 

หมวด T

Thermostat เทอร์โมสตัท หรือ Thermostat คืออุปกรณ์สำหรับควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งเหมาะสำหรับห้องควบคุมอุณหภูมิ

 

หมวด V

VAV (Variable Air Volume)

VAV คือ Variable air volume ซึ่งถ้าแปลกันตรง ๆ ก็คือระบบที่ปรับปริมาณลมได้นั่นเอง ระบบนี้มีหลักการที่ตรงกันข้ามกับระบบต่าง ๆ ทีได้เอ่ยมาแล้วทั้งหมด คือแทนที่จะปรับอุณหภูมิลมจ่าย เพื่อให้ได้ตามโหลดที่ต้องการ กลับใช้วิธีปรับปริมารลมโดยที่อุณหภูมิคงที่คือเมื่อโหลดมากก็ปรับปริมาณลมส่งให้มาก และเมื่อโหลดลดลงก็ปรับปริมาณลม