สาระน่ารู้เกี่ยวกับ Clean Room

Clean room คืออะไร

ใครต้องมีห้อง Clean room บ้าง

ปัญหาของห้องCleanroom คือ สิ่งปนเปื้อน อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นละอองต่างๆ ที่มาจาก ผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิต รวมทั้งอากาศภายนอก สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างปัญหาให้กับผลิตภัณฑ์หรืองานที่กำลังทำอยู่ ส่งผลให้งานที่ได้ขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงช่วยในเรื่องการควบคุมเรื่องเชื้อโรคในโรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา
ตัวอย่างของอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องมีห้อง Cleanroom ได้แก่

  • การบินและอวกาศ การผลิตและการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้านการบินและอวกาศ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ หลอดทีวี จอแบน
  • เซมิคอนดักเตอร์ วงจรไฟฟ้า
  • ไมโครกลศาสตร์ ไจโรสโคป เครื่องเล่นคอมแพคดิสก์ ตลับลูกปืน
  • เลนส์ เลนส์ ฟิล์มถ่ายภาพ อุปกรณ์เลเซอร์
  • เทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตยาปฏิชีวนะ พันธุวิศวกรรม
  • โรงงานยา ยาฆ่าเชื้อ, ยาฆ่าเชื้อที่ใช้แล้วทิ้ง
  • เครื่องมือแพทย์ ลิ้นหัวใจ ระบบบายพาสหัวใจ
  • อาหารและเครื่องดื่ม การผลิตโรงเบียร์ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

Cleanroom แบ่งเป็นกี่ประเภท

เราสามารถจำแนกชนิดของ Cleanroom ได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น แบ่งตามลักษณะการใช้งาน, แบ่งตามลักษณะตามการไหลของอากาศ
ตัวอย่างการ แบ่งตามลักษณะตามการไหลของอากาศ

  • Conventional Clean Room ระบบไหลเวียนอากาศของห้องชนิดนี้จะเหมือนกับระบบปรับอากาศทั่วไป เพียงแต่เพิ่ม HEPA filter และใช้จำนวน air change ในห้องให้มากขึ้น
  • Horizontal Laminar Clean Room จ่ายลมความเร็วคงที่ผ่านผนังห้อง ที่มี HEPA filter เต็มพื้นที่ผิวของกำแพง และลมจะถูกดูดกลับแล้วนำกลับมาผ่าน HEPA filter วนเวียนไปเรื่อย ๆ ห้องชนิดนี้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรม อิเลคโทรนิคส์ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา โรงงานผลิตยา ในบางพื้นที่ของกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง จะมีการควบคุมความสะอาดของอากาศจนถึงระดับ ISO-5 ถึงระดับต่ำกว่า อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO14644-1
  • Vertical Laminar Flow Clean Room ห้องชนิดนี้จะติดตั้ง HEPA filter เต็มพื้นที่ผิวของเพดาน จ่ายลมในแนวดิ่งและลมกลับจะไหลผ่านพื้นที่เป็นตะแกรงหรือเป็นรูกลับไปสู่พัดลม วนเวียนไปเรื่อย ๆ ห้องแบบนี้จะมีระดับความสะอาดประมาณ Class 100 ตาม FS209 หรือ ISO-5 อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO14644-1 เหมาะกับโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ในบางพื้นที่ของการผลิต จะมีการควบคุมความสะอาดของอากาศจนถึงระดับ ISO-1 อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO14644-1

ห้อง Clean room ต้องตรวจวัดอะไรบ้าง

การตรวจสอบห้อง Cleanroom ตามมาตรฐาน ISO 14644 ประกอบด้วย

Primary cleanroom tests include:

  • Airflow Velocity and Uniformity Tests
  • Airflow Volume and Uniformity Tests
  • HEPA Filter Installation Leak Tests
  • Airborne Particle Count Cleanliness Classification Tests
  • Room Pressurization tests

Optional tests include:

  • Airflow Parallelism Tests
  • Recovery Tests
  • Lighting Level and Uniformity Tests
  • Sound Level Tests
  • Vibration Level Tests
  • Temperature and Humidity Uniformity Tests
  • Air Change Rete (ACH) Tests

ควรทำความสะอาดห้อง Cleanroom บ่อยแค่ไหน??

ควรทำความสะอาดห้อง Cleanroom บ่อยแค่ไหน??
เรามีคำตอบและแนวทางให้ แต่อย่าลืมเรื่องอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เหมาะกับงานด้วยนะ

ทำความสะอาดห้อง Cleanroom

ขึ้นชื่อว่าห้อง Cleanroom ความสะอาดต้องเป็นเรื่องใหญ่ นอกจากการควบคุมระบบปรับระบายอากาศแล้ว การเลือกวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาดต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ โดยสามารถพิจารณาการเลือกได้ ดังนี้

  • ต้องมี Data sheet ที่ระบุคุณสมบัติชัดเจน เพื่อให้ผู้เลือกสามารถเลือกได้เหมาะสมตามมาตรฐานของงานที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยา อิเล็กโทรนิค โรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการต่างๆ
  • ต้องผลิตและบรรจุ ภายในห้อง Cleanroom
  • ปลดปล่อยเส้นใยต่ำ ไม่ทำให้เกิดอนุภาค หรือฝุ่นภายในห้อง Cleanroom มากขึ้น
    นอกจาก การเลือกวัสดุอุปกรณ์ วิธีการเช็ดก็ต้องทำให้ถูกวิธีด้วย

Particle Counter A100 Series

AeroTrak®+ Portable Airborne Particle Counters

  • เครื่องนับอนุภาคในอากาศแบบพกพา AeroTrak®+ (APC) คือ เครื่องมือตรวจวัดอนุภาคในห้อง CleanRoom ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกอุตสาหกรรม เพื่อใช้สำหรับการรับรอง การตรวจสอบ และงานเฉพาะทางสำหรับห้องคลีนรูมรวมถึงการทดสอบก๊าซและการสแกนฟิลเตอร์
  • เครื่องนับอนุภาคแบบพกพา TSI AeroTrak®+ A100 Series
    ไม่ต้องใช้คู่มือในการใช้งาน จึงช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดของผู้ใช้ได้อย่างมาก และทำให้การตรวจสอบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมง่ายขึ้น
  • มาตรฐานที่สร้างขึ้นสำหรับการกำหนดค่าและรายงานเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำคัญ
    ISO 14644-1:2015 – ห้องสะอาดและสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมที่เกี่ยวข้อง
    ISO 21501-4:2018 – มาตรฐานการสอบเทียบ
    ภาคผนวก EU GMP 1 (2008 และ 2022) – แนวปฏิบัติที่ดีในการผลิต: การผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ปราศจากเชื้อ GMP ประเทศจีน
    เมื่อการรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้น สามารถพิมพ์หรือส่งออกข้อมูลเป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไซต์งานหรือที่สำนักงาน และยังสามารถนำข้อมูลมาจากหลายเครื่องมือมาทำ Report ได้

ระดับความสะอาดของห้อง Cleanroom ISO14644-1 กับ EU GMP

ระดับความสะอาดของห้อง Cleanroom ISO14644-1 กับ EU GMP
สำหรับในโรงงานผลิตยา การใช้งานมาตรฐาน ISO 14644-1 อาจไม่เพียงพอ ยังมีการใช้มาตรฐานอื่นด้วยเช่น FDA และ EU GMP (EU Guide to Good Manufacturing Practice ) หรือ การจำแนกตามมาตรฐานทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical Cleanroom Classification)” โดย การจำแนกตามมาตรฐาน EU GMP แบ่งระดับความสะอาดโดยยึดหลักแนวทางของ GMP ได้แก่ GRADE A,B,C,D ซึ่ง GMP นอกจากการควบคุมปริมาณอนุภาคแล้ว ยังต้องควบคุมเชื้อจุลินทรีย์อีกด้วย

กลับสู่สารบัญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก