พื้นที่อับอากาศ

พื้นที่อับอากาศ

สถานที่อับอากาศคือ พื้นที่ที่มีทางเข้า-ออกจำกัด,มีการระบายอากาศตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการสะสมของสารเคมี สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ
เราจึงต้องมีการจัดการระบบระบายอากาศ แต่เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดแน่ชัดในเรื่องของการระบายอากาศ ตาม**บทความ “Clearing the Air on Confined Space Ventilation”ของ oshonline.com
ได้มีการกล่าวถึงการเติมอากาศ ที่จะต้องพิจารณาขนาดของพื้นที่ และ อัตราการแลกเปลี่ยนอากาศที่ต้องการ Air Changes per Hour (ACH) โดยพิจารณา ACH จากปริมาณและความรุนแรงของสารปนเปื้อนในอากาศ หรืออาจกำหนดตัวเลขไว้แล้วขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องลงไปปฏิบัติ เมื่อเราได้ค่า ACH ที่ต้องการ และขนาดของพื้นที่ทำงาน จะทำให้เราสามารถเลือกอุปกรณ์ในการเติมอากาศที่เหมาะสมได้
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ทุกอย่างมีการเสื่อมถอยตามอายุการใช้งาน เราจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ อัตราการเติมอากาศของอุปกรณ์ที่เราใช้ในการเติมอากาศ เป็นประจำ เพื่อ ให้มั่นใจว่าอัตราการเติมอากาศเป็นไปตามที่คำนวณไว้หรือไม่
**อ้างอิง : https://ohsonline.com/…/Clearing-the-Air-on-Confined…

การทำงานในที่อับอากาศ

ในการทำงานด้าน “อับอากาศ” ต้องประกอบไปด้วย “ใคร”บ้าง

ผู้อนุญาต

ออกหนังสืออนุญาตทำงาน อนุมัติให้มีการทำงานในที่อับอากาศ ประเมินความอันตรายในพื้นที่ วางแผนปฏิบัติงาน ตรวจสอบพื้นที่ก่อนและระหว่างปฏิบัติงาน

ผู้ควบคุมงาน

เป็นผู้ขออนุญาตให้มีการทำงานในที่อับอากาศ วางแผนการทำงานและการป้องกันอันตราย ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงาน ชี้แจงหน้าที่ วิธีทำงาน การป้องกันอันตราย สั่งหยุดงานชั่วคราวได้

ผู้ปฏิบัติงาน

ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานแจ้งอันตราย เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสวมอุปกรณ์ PPEตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน ต้องทราบถึงขีดความสามารถของร่างกายตนเองว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่

ผู้ช่วยเหลือ

ต้องรู้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ ให้ความช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงาน หากเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ ตรวจสอบรายชื่อและจำนวนผู้เข้าปฏิบัติงาน ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อมใช้งาน เป็นผู้มีความชำนาญในการตรวจวัดสภาพอากาศทั้งก่อน ขณะปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

เครื่องวัดที่อับอากาศ

สามารถใช้เครื่องวัดแก๊ส Personal Gas G999 ในการวัดได้

เครื่องวัดก๊าซแบบพกพาโดยได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีข้อจำกัดสูงและสถานที่อันตรายสำหรับงานประเมินความปลอดภัยของพนักงานที่มีโอกาสเกิดอันตรายจากการสัมผัสก๊าซพิษ

  • สามารถตรวจวัดความเข้มข้นและการรั่วไหลของก๊าซได้สูงสุด 7 ชนิด พร้อมกัน โดยเลือก Sensor การตรวจวัดได้ดังนี้
  • สามารถเลือกก๊าซที่ตรวจวัดได้ดังนี้ O2/LEL/CO/H2S/CO2/Cl2/ClO2/ETO/HCl/O3/SO2/PH3/NO/NO2/H2
  • เตือนระดับความเป็นอันตรายผ่านการสีของหน้าจอแสดงผลพร้อมระบบหมุนหน้าจอแบบ 180 องศา
  • มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ใช้งานง่ายมีความทนทานสูง ตัวเครื่องสามารถป้องกันน้ำและฝุ่น (IP67)
เครื่องวัดแก๊ส G450
การใช้งานเครื่องวัดแก็ส 450
กฎหมายเครื่องวัดแก๊ส G450

สรุป

เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะงานที่ทำโดยบุคคลเพียงคนเดียว แยกจากบุคคลอื่น ไม่มีการดูแลอย่างไกล้ชิด นายจ้างควรเลือกเครื่องมือให้เหมาะสม และ ปลอดภัยในการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก