คุณภาพอากาศภายในอาคาร

คุณภาพอากาศอากาศภายในอาคาร

คุณภาพอากาศภายในอาคาร

คุณภาพอากาศภายในอาคาร คือ อากาศภายในอาคารที่ดี ซึ่งนั่นหมายถึง สภาวะที่อากาศภายในอาคารนั้นมีสิ่งอันตรายเจือปนอยู่ในปริมาณที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ

1. สถานที่ตั้ง หากตัวอาคาร บ้าน สำนักงาน อยู่ใกล้กับแหล่งที่มีโอกาสได้รับมลพิษ เช่นติดถนน ที่มีการจราจรคับคั่ง, ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม

2. การออกแบบอาคาร การออกแบบอาคาร ทั้งการวางตำแหน่งอาคาร การจัดวางระบบระบายอากาศ การกั้นห้องต่างๆ

3. การออกแบบและการบำรุงรักษาระบบระบายอากาศ ในกรณีเป็นตึกอาคารส่วนใหญ่จำเป็นต้อง มีระบบ HVAC เพื่อทำให้ปริมาณอากาศถูกจัดการให้เพียงพอต่อผู้ใช้งาน (Heating, Ventilation and Air Conditioning, HVAC) นอกเหนือจากการออกแบบแล้ว จะต้องดำเนินการตรวจสอบก่อนการใช้งาน และต้องบำรุงรักษา และตรวจสอบเป็นประจำด้วย

4. งานปรับปรุงอาคารใหม่ การปรับปรุงอาคารนั้น อาจมีกลิ่นสีฝุ่น และสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ จากวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นแหล่งของสารมลพิษที่อาจจะหมุนเวียนอยู่ในอาคาร การจำกัดบริเวณในการทำงาน และเพิ่มการไหลเวียนอากาศจะช่วยเจือจาง และกำจัดสารมลพิษที่เกิดขึ้นได้

5. พื้นที่สำหรับกิจกรรมเฉพาะ เช่น ห้องครัว ห้องปฏิบัติการ ร้านซ่อมบำรุง อู่รถ ร้านทาเล็บ ร้านเสริมสวย ห้องน้ำ ห้องเก็บรวบรวมขยะ ห้องซักรีด ห้องถ่ายเอกสาร เป็นต้น อาจเป็นแหล่งของสารมลพิษ หากไม่มีการระบายอากาศที่ดีพอ

6. วัสดุก่อสร้างและตกแต่งอาคาร เช่น ฉนวนกันความร้อน วัสดุกั้นเสียง ผนัง เพดาน พรม ม่าน เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ อาจปลดปล่อยสารมลพิษสู่อากาศภายในอาคารได้ นอกจากการเลือกวัสดุที่ดีตั้งแต่เริ่มแล้ว จะต้องมีการทำความสะอาด บำรุงรักษา เป็นประจำ เพราะ บางชิ้นส่วนเมื่อเสียหาย อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้

7. การดูแลบำรุงรักษาอาคาร เนื่องจากเราอาจจำเป็นต้องใช้สารเคมี เช่น การกำจัดเชื้อรา การทำความสะอาด ดังนั้น ควรกั้นพื้นที่เพื่อป้องกันการกระจาย และหาวิธีกำจัด ซึ่งอาจจะใช้วิธีการระบายอากาศเข้ามาช่วย

8. คน และสิ่งมีชีวิต บางครั้งสิ่งตัวเราเองก็เป็นคนนำสิ่งต่างๆเข้ามาในบ้าน โดยการนำมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือ สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เช่นสะเก็ดผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจเป็นสารก่อภูมแพ้สำหรับบางคนได้

ประเภทของสารมลพิษในอาคาร

  • สารมลพิษทางเคมี

    ได้แก่ แก๊สและไอระเหยต่าง ๆ ที่ปลดปล่อยจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอาคาร อุบัติเหตุสารเคมีหกรั่วไหล วัสดุก่อสร้าง กาวและสีทาผนัง การเผาไหม้ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นต้น

  • สารมลพิษทางชีวภาพ

    เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ไรฝุ่น สะเก็ดผิวหนังของสัตว์ ละอองเกสร เป็นต้น อาจมาจากการดูแล ความสะอาดและการบำรุงรักษาที่ไม่ดีพอ การควบคุมความชื้นไม่ดีพอ

  • สารมลพิษที่เป็นอนุภาค

    (ไม่ใช่อนุภาคทางชีวภาพ) ได้แก่ อนุภาคของแข็งหรือของเหลวที่ไม่มีชีวิต สารแขวนลอยใน อากาศ ฝุ่น สิ่งสกปรก หรือสารอื่น ๆ ที่อาจจะถูกดึงเข้าสู่อาคารจากภายนอก และอาจมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในอาคาร เช่น การ ก่อสร้าง การพิมพ์งาน การถ่ายเอกสาร การใช้งานเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น

มาตรฐานคุณภาพอากาศในอาคาร

มาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารมีกำหนดโดยหลายหน่วยงานด้วยกัน เช่น ASHRAE 62.1-2010, Singapore : SS 554 : 2009, Singapore : SS 554 : 2016, Hong Kong, OSHA, NIOSH
สำหรับในประเทศไทย มีข้อแนะนำในการปฏิบัติเช่นกัน

ประกาศ กรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565

ตัวอย่างมาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคาร

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ

การจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร ด้วยระบบระบายอากาศ

ระบบระบายอากาศจึงเป็นอีกหนึ่งระบบพื้นฐานที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง ในการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารให้มีคุณภาพที่ดีอยู่ตลอดเวลา หลักการทำงานของระบบระบายอากาศนั้นจะทำหน้าที่เจือจางมลพิษและป้องกันมลพิษเหล่านี้ได้โดย ใช้วิธีการเติมอากาศบริสุทธิจากภายนอก โดยผ่านชุดกรองอากาศเข้ามาเจือจางมลพิษที่อยู่ภายในอาคารและนำมลพิษเหล่านี้ออกไปสู่นอกพื้นที่ด้านนอกอาคาร บางสถานที่ ถ้ามีมลพิษที่อันตรายมากๆ ก็จะต้องทำการบำบัดก่อนปล่อยอออกสู่สิ่งแวดล้อมเสมอ เช่น โรงงานผลิตสีที่มีสารอินทรีย์ระเหยค้อนข้างสูง โรงพยาบาลในห้องที่เป็นห้องกักเชื้อโรค เป็นต้น โดยการระบายอากาศนั้น จะมีต้อง อัตราการหมุนเวียนอากาศที่แตกต่างกันไป ซึ่งแบ่งได้ ตามกิจกรรมนั้นๆ

Air Chang Rate หรือ อัตราการหมุนหมุนเวียนอากาศ มีความสำคัญอย่างไร

อัตราการหมุนเวียนอากาศ คือ อัตราการแลกเปลี่ยนอากาศของพื้นที่นั้นๆ โดยมีหน่วยเป็นจำนวนครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งเราจะคุ้นเคยกับคำว่า Air Chang Rate อยู่บ่อยๆ หรือที่มีชื่อเรียกย่อๆว่า ACH ในงานระบายอากาศ

สำหรับงานระบายอากาศนั้น ถ้าหากเรามีอัตราการหมุนเวียนอากาศที่ต่ำเกินไปย่อมส่งผลดีคือใช้พลังงานน้อยประหยัดค่าไฟ แต่ข้อเสียที่ตามมาคือคุณภาพในการการเจือจางสิ่งปนเปื้อนและการระบายอากาศก็จะต่ำกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพกับผู้ที่ทำกิจกรรมอยู่ในพื้นที่นั้นๆ และถ้าเราออกแบบการหมุนเวียนอากาศที่สูงเกินความจำเป็นหลายๆเท่าย่อมส่งผลดีคือ คุณภาพในการการเจือจางสิ่งปนเปื้อนและการระบายอากาศก็จะดีมากกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ และข้อเสียที่ตามมาคือการใช้พลังงานมากและจ่ายค่าไฟที่แพงโดยใช่เหตุ

ฉะนั้น การหมุนเวียนอากาศในแต่ล่ะพื้นที่ ย่อมใช้จำนวนการหมุนเวียนอากาศที่แตกต่างกันออกไป โดยอ้างอิงจากตารางข้างต้นได้เลยครับ สำหรับบทความนี้ ผมขอยกตัวอย่างการคำนวนการออบแบบระบบระบายอากาศ มา 1 ตัวอย่างนะครับ โดยจะเลือกประเภทพื้นที่ ที่เป็น Offices โดยมี การหมุนเวียนอากาศอยู่ที่ 6-10 ครั้งต่อชั่วโมง

ก่อนอื่นเราต้องรู้จักปริมาตรพื้นที่ หรือ ปริมาตรห้อง ที่เราต้องการออกแบบระบบระบายอากาศกันก่อนนะครับ สิ่งที่ต้องรู้คือ ขนาด กว้างXยาวXสูง = ปริมาตรห้อง เป็น ลบ.ม หรือ ลบ.ฟ ยกตัวอย่างเช่น ออฟฟิศมีพื้นที่ กว้าง 15 เมตร X ยาว 10 เมตร X สูง 3 เมตร ปริมาตรของออฟฟิศจะมีค่าเท่ากับ = 450 ลบ.ม หรือ 15.891 ลบ.ฟ เมื่อรู้ขนาดปริมาตรห้องแล้ว ให้เรานำมาคูณกับ อัตราการหมุนเวียนอากาศที่เราได้เลือกไว้ ยกตัวอย่างเช่น Office มีอัตราการหมุนเวียนอากาศอยู่ที่ 6-10 ครั้งต่อชั่วโมง = 450 ลบ.ม X 10 = 4500 ลบ.ม/ชม พื้นที่นี้ควรมีการระบายอากาศอยู่ที่ 4500 ลบ.ม/ชม ครับ ในบทความหน้า เราจะมาพูดถึงเรื่อง วิธีการคำนวนหาอัตราการหมุนเวียนอากาศ เพื่อมาดูประสิทธิภาพการระบายอากาศว่าเป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่ ครับ

สรุป

การจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารนั้น หากควบคุมตั้งแต่เริ่มต้น การจัดการจะทำได้ง่าย และต้องมีการควบคุมติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงควรมีการตรวจวัดเป็นประจำ เพื่อง่ายต่อการจัดการและการวางแผนการบำรุงรักษา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก