การตรวจวัดในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วยหลายส่วน ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจวัดในแง่ของความปลอดภัย ซึ่งหลายคนมักเรียกว่า การตรวจวัดใน Workplace เพราะเป็นการตรวจวัดเพื่อประเมินหน้างาน
เครื่องมือที่ต้องใช้ในการตรวจวัดสภาพแวดล้อมมีอะไรบ้าง
- เครื่องตรวจวัดระดับความดังเสียง (Noise Dosimeter)
- เครื่องตรวจวัดความเข้มแสง (Lux Meter)
- เครื่องตรวจวัดดัชนีความร้อน WBGT (Heat Street Monitor)
- เครื่องตรวจวัดสารเคมี (Chemical)
วัตถุประสงค์การตรวจวัด
- การตรวจวัดเสียง : เป็นการตรวจวัดระดับความดังเสียงเพื่อประเมินระดับเสียงดังในพื้นที่ทำงาน เพื่อป้องอันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะการสูญเสียการได้ยิน
- การตรวจวัดแสง : เป็นการตรวจวัดระดับแสงสว่าง เพื่อประเมินระดับแสงที่เพียงพอ ต่อการทำงาน และไม่ให้เป็นอันตรายดวงตา รวมถึงการทำงานในพื้นที่นั้น
- การตรวจวัดความร้อน : เพื่อป้องกันภาวะอันตราย ซึ่งอาจมีผลกระทบทำให้เกิดอาการขาดน้ำอย่างเฉียบพลัน ช็อคหมดสติ เป็นภาวะที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิต
- การตรวจวัดสารเคมี : ตรวจวัดเพื่อใช้ในการตรวจติดตามการรับสัมผัสสารเคมีจากการทำงาน และสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการวางมาตรการการป้องกับการรับสัมผัส
ตรวจวัดแล้วต้องรายงานผลที่ใคร ?? บ่อยแค่ไหน??
โดยปกติในการตรวจที่กล่าวมาข้างต้นนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะกำหนดให้ตรวจวัดเพื่อรายงานผลปีละ 1 ครั้ง แต่อย่างไรก็ตามนอกจากการตรวจวัดเพื่อรายงานผลแล้ว การมีเครื่องมือตรวจวัดเหล่านี้ เพื่อใช้สำหรับตรวจวัดเองนั้น ก็สามารถทำได้และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถนำเครื่องมือออกมาตรวจวัดซ้ำได้เป็นประจำ เพื่อเป็นการตรวจเช็คสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา โดยสามารถทำเป็นโปรแกรมการตรวจวัดเป็นระยะ ๆ เช่น ราย 3 เดือน หรือ ราย 6 เดือน เพื่อนำข้อมูลที่ตรวจวัดนั้นมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางมาตรการป้องกันความปลอดภัยต่าง ๆ ได้
พารามิเตอร์หลักๆ ที่จำเป็นต่อการตรวจวัด
การเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้ตรวจวัดนั้น โรงงานอุตสาหกรรมสามารถใช้เครื่องมือที่อิงตามมาตรฐานของประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ หรือขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่ทางแต่ละโรงงานนั้นต้องการทราบ ในที่นี้จะขอแนะนำพารามิเตอร์หลักๆ ที่จำเป็นต่อการตรวจวัด
- เสียง : Lav, Leq, Peak, Max, Min และ TWA
- เสียงสะสม : %Dose และ TWA
- แสง : Lux (หน่วยวัดความเข้มแสง)
- ความร้อน : WBGT (in/out), WBGT , TNWB, TDB, TGT
มาตรฐานเครื่องมือที่จำเป็น
สำหรับการเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการตรวจวัด ผู้เลือกควรคำนึงถึงเครื่องมือที่ได้ตามมาตรฐาน เพื่อทำให้มั่นใจว่าค่าที่ตรวจวัดได้นั้น จะถูกต้องแม่นยำ และมีความน่าเชื่อถือ
- เสียง : ต้องได้มาตรฐาน IEC 61672 สามารถตรวจวัดและรายงานค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นได้ ในกรณีที่ต้องการตรวจวัดแบบแยกความถี่ ต้องได้มาตรฐาน IEC 61260
- เสียงสะสม : ต้องได้มาตรฐาน IEC 61252
- แสง : ต้องได้มาตรฐาน CIE 1931 และสามารถปรับค่าศูนย์ที่ตัวเครื่องได้
- ความร้อน : ต้องได้มาตรฐาน ISO7243 และมีอุปกรณ์สำหรับสอบเทียบความแม่นยำของเครื่องมือก่อนนำไปใช้งาน
- สารเคมี : ในกรณีปั๊มเก็บตัวอย่างแนะนำให้ใช้เครื่องมือที่ออกแบบให้ทำงานได้ตามมาตรฐาน ISO13137 หรือ EN 1232
ตัวช่วยการตรวจวัด…… Software
สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือตรวจวัด ที่จะทำให้ผู้ใช้งานเครื่องมือนั้น ทำงานได้ง่ายขึ้นนั้นก็คือ Software ที่ใช้ในการดาวโหลดข้อมูล ประมวลผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งในรูปแบบของตัวเลข และกราฟ
โปรแกรมที่ดีนั้น (รวมถึงเครื่องมือตรวจวัด) จะต้องช่วยลดเวลาการทำงานของผู้ใช้งาน ไม่ใช่ไปเพิ่มความยุ่งยากในการตรวจวัดจนทำให้เสียเวลางานส่วนอื่นไป
สรุป
การตรวจวัดใน Workplace จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน จำเป็นต้องมีความรู้ในการตรวจวัดและรายงานผล ทีมงานของเรายินดีสนับนุนทุกการทำงานของคุณบรรลุเป้าหมายด้านความพฤติกรรม