Man-Down Feature ในเครื่องวัดแก๊ส สำคัญอย่างไร ”
โดยทั่วไประบบการแจ้งเตือนในเครื่องวัดแก๊ส จะเป็นรูปแบบของการแจ้งเตือนลิมิตของแก๊ส ไม่ว่าจะเป็น STEL, TWA และการกำหนดค่าลิมิตเพื่อให้แจ้งเตือนขึ้นมาเองตามมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กรตัวเอง แต่หากเรามองในความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานและผู้เข้าช่วยเหลือ จะพบว่ายังคงมีช่องว่างในการประเมินความเสี่ยงที่ยังบกพร่องอยู่ เพราะถ้าหากผู้ปฏิบัติงานเกิดอุบัติเหตุล้มลงหรือหมดสติก่อนที่การแจ้งเตือนลิมิตของแก๊สจะดังขึ้น การเข้าช่วยเหลือช้าเพียงเสี้ยววินาทีก็อาจจะสายไปแล้ว
ระบบการแจ้งเตือน Man-Down ในเครื่องวัดแก๊ส จึงเข้ามาเติมเต็มในข้อบกพร่องดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็วและทันท่วงที รวมถึงเป็นการบ่งบอกสถานการณ์ต่อทีมเข้าช่วยเหลือด้วยว่า การแจ้งเตือนดังกล่าวนั้นเกิดจากอะไร และควรจะเตรียมแผนการตอบโต้สถาการณ์รวมถึงอุปกรณ์อะไรบ้างในการเข้าช่วยเหลือ
ระบบการแจ้งเตือน Man-Down ใน เครื่องวัดแก๊สของGFG นั้นจะมาพรอมกับระบบ TeamLink ที่จะมีการส่งสัญญาณไปยังเครื่องแม่ข่ายถึงสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน แบบ Real-time ทำให้สามารถตามติดสถานการณ์และเข้าช่วยเหลือได้ถูกจุด โดยเมื่อมีการเปิดระบบการใช้งาน Man-Down นั้น เราสามารถตั้งค่าระยะเวลาการไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของผู้ปฏิบัติงานในระยะเวลาตั้งแต่ 20 – 300 วินาที หากไม่มีการตอบสนองกลับมาในระยะเวลาดังกล่าว เครื่องของผู้ปฏิบัติงานจะมีการแจ้งเตือน ในระยะเวลาอีก 30 วินาที หากยังมีสติอยู่ให้กดปุ่มเพื่อเป็นการตอบสนองกลับไปยังเครื่องแม่ข่าย แต่หากไม่มีการตอบสนอง เครื่องแม่ข่ายก็จะมีการแจ้งเตือนว่า “Man-Down-Alarm” และรีบเตรียมความพร้อมเพื่อให้การเข้าช่วยเหลือในลำดับถัดไป โดยตัวเครื่องของผู้ปฏิบัติงานนั้นจะมีรูปแบบการแจ้งเตือนทั้งแสง สี และเสียง ทำให้ผู้เข้าช่วยเหลือค้นหาผู้ประสบภัยได้รวดเร็วไม่ว่าหน้างานจะเป็นสถานการณ์ไหน เช่น ในที่มืดก็จะเห็นแสงไฟ และในพื้นที่สว่างก็จะได้ยินเสียง เป็นต้น
แน่นอนว่าในการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับแก๊สอันตรายหรือพื้นที่อับอากาศนั้น ความเสี่ยงหรืออุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่ความเข้มข้นของแก๊สเกินลิมิตที่เราตั้งไว้ แต่อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุอื่นๆจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นหมดสติและล้มลงในขณะที่ค่าความเข้มข้นของแก๊สนั้นยังไม่เกินลิมิตก็ได้ แต่การแจ้งเตือนในระบบ Man-Down จะช่วยรักษาความปลอดภัยและรักษาชีวิตของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น และเกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด
Team Link Feature
การทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตราย อย่างเช่น ทำงานภายในพื้นที่ที่เป็นลักษณะหลุม, บ่อ, ไซโล, ถังน้ำมัน หรือห้องใต้ดิน ถือเป็นลักษณะของ “พื้นที่อับอากาศ” แน่นอนว่าต้องมีมาตรการและขั้นตอนในการเข้าทำงาน ซี่งแต่ละส่วนงานมีบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
ผู้อนุญาต : ต้องเป็นผู้ที่คอยประเมินความอันตรายในพื้นที่ ออกหนังสืออนุญาตทำงาน อนุมัติให้มีการทำงานในที่อับอากาศ และวางแผนปฏิบัติงาน ตรวจสอบพื้นที่ก่อนและระหว่างปฏิบัติงาน
ผู้ควบคุมงาน :
เป็นผู้ที่วางแผนการทำงานและการป้องกันอันตราย คอยควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงาน ชี้แจงหน้าที่ วิธีทำงาน การป้องกันอันตราย สั่งหยุดงานชั่วคราวได้ หากพบว่าเกิดความไม่ปลอดภัย
ผู้ปฏิบัติงาน :
ตัวผู้ปฏิบัติงานเองต้องตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน แจ้งอันตรายเมื่อรู้สึกว่าเริ่มไม่ปลอดภัย หรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และต้องสวมอุปกรณ์ PPE ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน
ผู้ช่วยเหลือ :
ในส่วนของผู้ช่วยเหลือนั้น ต้องคอยให้ความช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงาน หากเกิดเหตุฉุกเฉินไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ ตรวจสอบรายชื่อและจำนวนผู้เข้าปฏิบัติงาน ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ในส่วนของมาตรการการป้องกันอันตรายในสถานที่อับอากาศมีดังต่อไปนี้
- จัดทำป้าย “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ติดหน้าทางเข้า-ออก และต้องขออนุญาตก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง
- ตรวจสอบก๊าซพิษ ก๊าซติดไฟและปริมาณก๊าซออกซิเจนต้องอยู่ระหว่าง 19.5 – 23.5
- ต้องมีผู้ควบคุม และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้า-ทางออก ตลอดเวลาที่มีการทำงาน
- จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล Personal Protective Equipment (PPE) อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสม
จะเห็นได้ว่าการตรวจวัดก๊าซพิษเป็นหนึ่งในมาตรการ ซึ่งจะต้องมีการตรวจวัดก่อนมีผู้ปฏิบัติการลงไป รวมถึงควรมีการติดอุปกรณ์ตรวจวัดไปกับผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน หากมองถึงความสำคัญของความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน แน่นอนว่าหากเครื่องวัดแก๊สมีการแจ้งเตือนถึงอันตรายว่า ก๊าซพิษหรือปริมาณออกซิเจน ไม่เป็นไปตามค่าที่กำหนดต้องรีบนำตัวเองออกจากพื้นที่ดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย และการแจ้งเตือนดังกล่าวจะเสริมความปลอดภัยให้กับพนักงานเพิ่มได้อย่างไร ???
ในมาตรการการป้องกัน มีข้อความระบุว่า “ต้องมีผู้ควบคุม และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้า-ทางออก ตลอดเวลาที่มีการทำงาน” นี่แหละคือบุคคลสำคัญหากเกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน เพราะเขาเป็นคนให้ความช่วยเหลือ และประสานงานด้านนอก จะดีกว่าหรือไม่ที่ “ผู้ควบคุม และผู้ช่วยเหลือ” จะรู้ความเคลื่อนไหว และอันตรายของก๊าซพิษ ที่ผู้ปฏิบัติการงานต้องเผชิญตลอดเวลา เพื่อความรวดเร็วในการเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงนี้
TeamLink จะเข้ามามีประโยชน์อย่างมากในฝั่งงานของ “ผู้ควบคุม และผู้ช่วยเหลือ” ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ TeamLink เปรียบเสมือนเครื่องแม่ขาย ที่สามารถเห็นข้อมูลเครื่องวัดก๊าซในสังกัดได้ถึง 10 เครื่องย่อย โดยข้อมูลที่ปรากฎที่เครื่องแม่ข่ายนั้น จะเหมือนกับเครื่องวัดก๊าซเครื่องย่อยๆ ซึ่งมีการแจ้งเตืองทั้งระบบก๊าซเกิน หรือไม่เป็นไปตามมาตร รวมถึงระบบที่สำคัญอีกอย่างคือ “Man-down” เพราะในมุมของ “ผู้ควบคุม และผู้ช่วยเหลือ” ควรจะรู้ความเคลื่อนไหวของผู้ปฏิบัติงานตลอดเวลา หรือหากว่ามีแจ้งแจ้งเตือน ก็ควรทราบถึงสาเหตุของการแจ้งเตือนนั้นๆ เพื่อจะได้เข้าช่วยเหลือได้ถูกจุด และเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าช่วยเหลือด้วยเช่นกัน
คุณสมบัติของ TeamLink จึงเข้ามาตอบโจทย์ของ “ผู้ควบคุม และผู้ช่วยเหลือดังนี้ ”
สามารถดูข้อมูลและให้ประสานงานให้ความช่วยเหลือจากระยะไกลได้
ทีมสนับสนุน หรือทีมกู้ภัยที่ให้การเข้าช่วยเหลือ จะได้รับข้อมูลทราบถึงความอันตรายของสภาพแวดล้อมหน้างานก่อนเข้าไป
จัดการเข้าพื้นที่หน้างานแบบระบบ Buddy เพื่อความปลอดภัยของเพื่อนร่วมงาน
สร้างข้อกำหนดการปฏิบัติการให้สอดคล้องกับด้านความปลอดภัย
Page Function สำหรับส่งข้อความพื้นฐาน และสามารถตอบโต้ข้อความกลับได้
การปฏิบัติงานภายใต้ความเสี่ยงและหากเกิดเหตุอันตรายขึ้น การเข้าช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและถูกจุด ก็จะเป็นการช่วยยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงผู้เข้าช่วยเหลือด้วยนั่นเอง เพราะในบางสถานการณ์เวลาแค่ไม่กี่วินาทีก็มีผลต่อชีวิตแล้ว
สรุป
ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับแก๊สอันตรายหรือพื้นที่อับอากาศนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่แค่ความเข้มข้นของแก๊สเกินลิมิตเท่านั้น แต่อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุอื่นๆจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นหมดสติและล้มลงในขณะปฎิบัติงานได้ เพราะฉะนั้นการเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการปฎิบัติงานควรมีความปลอดภัย และมีมาตรฐานที่ปลอดภัย เพื่อให้เกิดความเสี่ยงต่อพนักงานน้อยที่สุด