Bio-Decontamination
Bio-Decontamination คือ การกำจัดการปนเปื้อนทางชีวภาพ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำโดยเฉพาะกับอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานที่ต้องควบคุม เช่น ห้องสะอาด ห้องปลอดเชื้อ อุตสาหกรรมยาปลอดเชื้อ ห้องปฏิบัติการ
กระบวนการที่กำจัดการปนเปื้อนทางชีวภาพ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- การใช้อุณหภูมิ (Autoclave, Dry Heat)
- การใช้รังสี (Gamma or X-Ray)
- การใช้สารเคมี (Ethylene Oxide, VHP)
การใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) ในการกำจัดเชื้อ
ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen peroxide) มีสูตรทางเคมีว่า H2O2 เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนสองตัวและเชื่อมกันด้วยพันธะเดี่ยว) รูปแบบที่ง่ายที่สุด มีสภาพเป็นของเหลวใส หนืดกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม(ไมต้องไปชิมนะคะ) ไม่อยู่ตัว ซึ่งสามารถสลายตัวเป็นออกซิเจนกับน้ำ เมื่อเจือจางจะเป็นสารละลายไม่มีสี เนื่องจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถสลายตัวเป็นน้ำได้เมื่อถูกแสงและความร้อน โดยปรกติจะเก็บรักษาสารชนิดนี้ไว้ในภาชนะทึบแสง เป็นสารที่นิยมนำมาใช้ในการทำ Bio-Decontamination มากที่สุด เพราะเป็นสารที่มีความเป็นพิษต่ำ และให้ประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเชื้อโรค
ทำไมต้องใช้ H2O2 (Hydrogen peroxide)
- ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) มีสูตรโมเลกุลคือ H2O2 เป็นสารฆ่าเชื้อ โดยทำให้เกิดปฏิกิริยา peroxidation ทำให้ลิพิดที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในชั้นเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย ส่งผลทำให้ความสามารถในการซึมผ่านเข้าและออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ของสารต่างๆ เสียไป จัดการได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ รวมทั้งกลุ่มเชื้อรา (mold) ด้วย โดยจะทำให้เกิด Oxidizing effect ภายในเซลล์ และจะไปทำลายโครงสร้างโมเลกุลของโปรตีนภายในเซลล์
- เป็นสารที่มีระดับความปลอดภัยสูง เมื่อเทียบกับสารทำความสะอาด อื่นๆ (ตาราง)
เทคโนโลยีในการทำ Bio-Decontamination ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ นิยมนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ มากขึ้นเรื่อยๆ แต่หลายคนไม่ทราบว่า การเลือก เทคโนโลยีนั้นมีผลอย่างยิ่ง
โดยปกติเรานิยมใช้การรมยา (Fumigate) เพราะเป็นวิธีที่เข้าถึงตำแหน่งต่างๆได้อย่างทั่วถึง แต่หลายองค์กรหรือหลายหน่วยงานมักจะเจอ “ปัญหาการกัดกร่อนโลหะภายในห้อง” เช่น เครื่องจักร ปลั๊กไฟ ผนัง เกิดเป็นสนิมหรือขี้เกลือ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรัง มานาน จนบางคนต้องหนีไปใช้สารตัวอื่นแทน ซึ่งความจริงแล้ว เป็นเพราะ เรายังเลือกเทคโนโลยีในการ Fumigate ไม่เหมาะสมนั่นเอง
ความแตกต่างของเทคโนโลยี การรมยาด้วย Vapor กับ Aerosol, Spray, Dry fog ต่างกันอย่างไร?
VAPOR
- จะอยู่ในรูปแบบของแก๊สหรือไอระเหย มีขนาดเล็กกว่า 0.3 um ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
- สามารถกระจายตัวไปทั่วทุกพื้นที่
- ไม่ตกค้าง
- เป็นมิตรกับวัสดุชนิดต่างๆ (ถ้าอยู่ในรูปแบบแก๊สหรือไอระเหย)
- ถ้ามีระบบควบคุมความชื้น จะยิ่งป้องกันการเกิดการควบแน่น ป้องกันการเกิดหยดน้ำได้ดีอีกด้วย
AEROSOL, SPRAY, DRY FOG, …
- จะอยู่ในรูปแบบของหยดน้ำ ละอองน้ำ มีขนาดตั้งแต่ 3-10 um สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
- ไม่สามารถกระจายตัวไปทั่วทุกพื้นที่ได้เนื่องจากมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักจะตกลงสู่พื้นได้ง่าย
- มีสารตกค้างหลังจากน้ำระเหย
- มีความเสี่ยงต่อการกัดกร่อนกับวัสดุชนิดต่างๆ
การแก้ปัญหาการกัดกร่อนในการใช้ H2O2 (Hydrogen peroxide)
การใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหา คือ การใช้ “H2O2 V-Phase” หรือการทำให้อยู่ในรูปแบบของ”ไอ” Vapor นั่นเอง ทำให้ระบบกำจัดการปนเปื้อนทางชีวภาพนี้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วที่สุด เหมาะสำหรับกำจัดการปนเปื้อนทางจุลชีววิทยาในอากาศและพื้นผิวในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมหรือจำแนกประเภทสำหรับยา ชีวการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ การดูแลสัตว์ และในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีการปนเปื้อนทางจุลชีววิทยาได้อย่างดี
สรุป
การทำ Bio-Decontamination ด้วย ฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ควรเลือกเครื่องมือที่สามารถสร้างไอระเหยของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่อยู่ในรูปแบบของ Vapor หรือที่เราเรียกกันว่า VHP และต้องสามารถควบคุมความชื้นระหว่างการ fumigation เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกลั่นตัวและกัดกร่อนกับโลหะได้