วิธีป้องกันฝุ่น
เราจะรับมืออย่างไรกับฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีขนาดเล็กและไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างไร ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ และผิวหนัง หากได้รับเข้าไปในปริมาณมาก จะส่งผลให้เกิดโรคหอบหืด โรคปอด อาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้าย เช่น มะเร็งปอด โรคหลอดเลือดสมองได้อันตรายขนาดนี้มาดูวิธีป้องกันฝุ่น และลดความเสี่ยงในการสัมผัสกัน
1. การสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น (N95) สวมใส่หน้ากากทุกครั้งเมื่ออยู่กลางแจ้ง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสารพิษในอากาศ จากการสูดเข้าไปในทางเดินหายใจ. เนื่องจากหน้ากาก N95 มีความสามารถในการกรองฝุ่นขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถกันเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เครื่องฟอกอากาศ (Air purifiers) เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยลดฝุ่น pm 2.5 สารพิษ ในอากาศภายในบริเวณในบ้านหรือสถานที่ทำงาน การใช้เครื่องฟอกอากาศสามารถช่วยฟอกอากาศและลดอันตรายจากฝุ่น PM2.5, สารเคมี, เชื้อรา, เชื้อแบคทีเรีย, และอื่น ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
3. ติดตั้งระบบเติมอากาศ การเติมอากาศนั้นสำคัญ ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอีกทาง ปัจจุบันก็มีเครื่องเติมอากาศ Fresh air ออกมาจำหน่ายมากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรค เช่น สร้างอากาศสะอาด สามารถกรองเชื้อโรค ไวรัสได้ 99.95% สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ 99.99% และยังช่วยทำให้ห้องเป็นแรงดันบวก เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าได้อีกด้วย
4. ควบคุมความชื้น ควบคุมความชื้นในบ้านเพื่อลดการเจริญเติบโตของ เชื้อรา สปอร์ของเชื้อรามีขนาดเล็กกระจายไปเหมือนฝุ่นก่อให้เกิดอันตรายได้
5. หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านหรือ อาคาร ถ้าไม่จำเป็น
6. หยุดทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือควรลดเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้งให้น้อยลง ซึ่งเป็นวิธีป้องกันฝุ่นที่ดีอีกวิธีหนึ่ง
แหล่งที่มาของฝุ่นละออง
เนื่องจากสภาพอากาศปิด ฝุ่น PM 2.5 กำลังสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ เราจะพามาดูกันว่า ฝุ่น PM 2.5 ในแต่ละแหล่งกำเนิดนั้น มีองค์ประกอบอะไรเป็นของแถมมาให้บ้าง ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีโอกาสพบฝุ่นได้ทุกประเภท ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน และองค์ประกอบเหล่านี้หลายตัวก็ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกาย
- ฝุ่นดิน ตามธรรมชาติ จะมีองค์ประกอบของ Ca2+ K + Na+ Mg Al Fe และ Ba
- ฝุ่นจากการก่อสร้าง จะมีองค์ประกอบของ Ca2+ Cu Fe As และยังสามารถพบ SO2- Al Cr Mn Zn Ba ได้อีกด้วย
- ฝุ่นจากการจราจร ซึ่งอาจเกิดจากการน้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น ผ้าเบรก ฝุ่นจากพื้นดิน มีสัดส่วน ความเข้มข้นของ จะมีองค์ประกอบของ BC(Black Cabon) NO3 SO2 Zn Ca2+ Cr Fe Pb และ Zn
- ฝุ่นจากการเผาไหม้ชีวมวล (biomass burning)มีสัดส่วนความเข้มข้นของ K + และ BC(Black Cabon) โดยมาจากการเผาไม้ ซากพืชหรือวัชพืช นอกจากนี้ ยังมี SO2 NO3 NH+ Ca2+
- ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม (industry) มีสัดส่วนความเข้มข้น ของ BC(Black Cabon) NO3 SO2 V Cr Fe Ni Zn As Sr Sb และ Pb
อันตรายจากฝุ่น
อันตรายของฝุ่น ขึ้นอยู่กับชนิดและแหล่งที่มา อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์สิ่งแวดล้อม และสัตว์ ซึ่งอันตรายจากฝุ่น PM2.5 และ PM10 ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างแท้จริง เมื่อสูดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจจะทำให้เกิดอาการเจ็บคอ, ไอ, จาม, และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหอบหืด, โรคถุงลมโป่งพอง, และโรคทางเดินหายใจและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด.
โรคที่มากับฝุ่น
โรคที่มากับฝุ่นเป็นโรคที่เกิดจากการสัมผัสฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก เช่น PM2.5 และ PM10 ซึ่งกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพ ทั้งคนและ สัตว์ โรคที่มาจากฝุ่นละอองได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: ฝุ่น PM2.5 สามารถเข้าสู่ระบบหายใจและถูกนำเข้าสู่ไปที่หลอดเลือด ทำให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดและเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
- โรคมะเร็งปอด : การสัมผัสฝุ่นละอองที่มีสารพิษอย่างเช่น ฝุ่น PM2.5 และ PM10 ในอากาศสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด
- โรคระบบทางเดินหายใจ: (Respiratory System Disorders) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โรคเหล่านี้มีสาเหตุจาก ฝุ่นละออง, สารเคมี, และสารพิษที่เป็นละอองในการสูด PM2.5 อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหืด (bronchitis) และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดได้ (artery disease)
- โรคหอบหืด (Asthma): โรคหอบหืดเป็นโรคทางเดินหายใจที่มีลักษณะการหายใจลำบากและการอักเสบของหลอดลม สาเหตุของโรคนี้อาจมาจาก สิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่นละออง, ละอองเกสร, สารเคมี
- โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อปอดและทำให้ถุงลมขยายตัวเกินปกติ ซึ่งเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น สูบบุหรี่ การสัมผัสฝุ่นละออง, สารเคมี
- โรคเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) เป็นโรคที่ส่งผลต่อเยื่อบุตา ซึ่งเป็นชั้นเนื้อบางที่ครอบกระจกตาและส่วนหน้าของลูกตา. โรคนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “ตาแดง” โดยทั่วไปมักเกิดจากการติดเชื้อหรือปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อเยื่อบุตา ซึ่งสาเหตุของโรคเยื่อบุตาอักเสบมาจากการสัมผัสสารที่สามารถทำให้เยื่อบุตาอักเสบ เช่น ฝุ่นละออง,และสารเคมี ,เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อไวรัส
- โรคผิวหนัง: โรคนี้เกิดจากการสัมผัสสารที่ทำให้ผิวหนังแพ้และเกิดอาการผื่น, คัน, และบวม สาเหตุเกิดจากการสัมผัสสารเคมี, ฝุ่นละออง PM2.5 มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป
กลุ่มเสี่ยงจากฝุ่นละออง
บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง (PM2.5) เมื่อเทียบกับกลุ่มคนอื่น ๆ ได้แก่
- เด็ก : ซึ่งยังมีภูมิคุ้มกันน้อยกว่าผู้ใหญ่ และยิ่งอายุน้อยยิ่งมีความเสียง ฝุ่นละอองอาจจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของระบบต่างๆ
- ผู้สูงอายุ: ผู้สูงอายุมักมีระบบทางเดินหายใจที่อ่อนแอและมีโรคเรื้อรังอื่น ๆ ซึ่งทำให้เสี่ยงและอันตรายจากฝุ่น. และมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหอบหืด
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว : ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมักมีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 สามารถทำให้อาการของโรคประจำตัวที่มีรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคใหม่
- หญิงมีครรภ์ :ในฝุ่นละออง ซึ่งจะมีผลกระทบและอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ฝุ่นอันตราย, เช่น ฝุ่น PM2.5 และ PM10, สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและระบบหลอดเลือดของร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาของทารกและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น มีความเสี่ยงต่อความเป็นมะเร็งปอดในระยะยาวหรือเกิดปัญหาในการเจริญเติบโตทางสติปัญญา.
สรุป
การป้องกันฝุ่นเป็นเรื่องสำคัญในการรักษาสุขภาพ และลดผลกระทบสุขภาพร่างกาย เพราะฉะนั้นควรเลือกอุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการรับมือกับฝุ่นให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุดเพื่อสุขภาพของคนที่คุณรัก