ปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิด ความเครียดจากความร้อน
สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มปัจจัย
- ปัจจัยส่วนบุคคล
- ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
- ปัจจัยจากการทำงาน
ปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยส่วนบุคคล ทำให้ความสามารถปรับตัวต่อความร้อนไม่เป็นไปตามปกติ ตัวอย่างของปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
- อดหลับ อดนอน
- ภาวะทุโภชนาการ /ขาดสารอาหาร
- การขาดน้ำ
- โรคอ้วน
- การรับประทานยาบางประเภท
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
ประกอบไปด้วย อุณหภูมิ ความชื้น การเคลื่อนที่ของอากาศ แหล่งกำเนิด (Radiant Heat Source) ซึ่งแต่ละส่วนจะส่งผลแตกต่างกัน เช่น
อุณหภูมิ (Ambient Temperature) เมื่ออุณหภูมิมีความร้อนสูงกว่าอุณหภูมิร่างกาย ร่างกายจะได้รับความร้อนเข้าจากสิ่งแวดล้อมเสมอ
ความชื้น : ในกรณีความชื้นสูง จะมีผลต่อการเกิดเหงื่อ ซึ่งเป็นตัวช่วยในการระบายความร้อนของร่างกาย
ปัจจัยจากการทำงาน
มีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง
- ความรุนแรงของภาระงาน และระยะเวลาการสัมผัสความร้อน
- การสวมใส่เสื้อผ้า รวมถึง PPE ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงาน ที่อาจส่งผลให้เกิดการลดการระบายอากาศลงเช่น ถุงมือ หมวก ชุดป้องกันสารเคมี
ที่มา : Workplace Safety and Health Guidelines : Managing Heat Stress in the Workplace (Workplace Safety and Health (WSH) Council of Singapore)
การป้องกันและควบคุมอันตรายในการทำงานสัมผัสกับความร้อน
1. หลักการป้องกันและควบคุมที่แหล่งกำเนิดของความร้อน เน้นถึงหลักการที่พยายามจะลดปริมาณความร้อนที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดให้มากที่สุด ได้แก่
- การใช้ฉนวน (Insulator)
- การใช้ฉากป้องกันรังสี (Radiation Shielding)
- การใช้ระบบระบายอากาศแบบธรรมชาติ
- การระบายอากาศเฉพาะที่ (Local Ventilation)
2. การป้องกันและควบคุมความร้อนจากสิ่งแวดล้อม หรือ การจัดการกับทางผ่าน
ในการระบายความร้อนโดยดำเนินการจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถดำเนินการจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถดำเนินการได้โดยทั่วไป มี 2 วิธี
- การออกแบบและสร้างอาคารให้มีระบบระบายอากาศที่ดี
- การเป่าอากาศเย็นที่จุดที่ทำงาน
3. การป้องกันที่ตัวคนงาน โดยทั่วไปแล้วการป้องกันและควบคุมที่จุดต้นกำเนิดความร้อนในบางครั้งในทางปฏิบัติอาจจะทำได้ยาก ดังนั้น การป้องกันที่ตัวคนงานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีหลักการ ดังนี้
3.1 การพิจารณาคัดเลือกคนงานที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อนให้เหมาะสม โดย
- เลือกคนที่เหมาะสม เช่น คนหนุ่มจะแข็งแรงกว่าคนแก่ คนผอมจะทนต่อความร้อนได้ดีกว่าคนอ้วน
- ไม่เลือกคนที่เป็นโรคท้องเสียบ่อยๆ และดื่มสุราเป็นประจำเพราะจะทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง มีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
- ให้คนงานใหม่คุ้นเคยกับการทำงานที่มีภาวะแวดล้อมที่ร้อนเสียก่อน แล้วจึงให้ทำงานประจำ
3.2 จัดหาน้ำเกลือ ที่ความเข้มข้น 0.1% ซึ่งทำได้จากการผสมเกลือแกง 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ให้คนงานที่ทำงานในสภาวะแวดล้อมที่ร้อน โดยให้ดื่มบ่อยครั้ง ครั้งละประมาณน้อยๆ
3.3 จัดหาน้ำดื่มที่เย็น (อุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส) และตั้งอยู่ในสถานที่ใกล้จุดที่ทำงาน
3.4 ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับความร้อน เช่น เสื้อ หรือชุดเสื้อคลุมพิเศษที่มีคุณสมบัติกันความร้อนเฉพาะ
3.5 สวัสดิการอื่นๆ เช่น ห้องปรับอากาศสำหรับพักผ่อน ห้องอาบน้ำ เป็นต้น
3.6 บางลักษณะงาน อาจจำเป็นต้องจำกัดระยะเวลาการทำงาน เพื่อลดระยะเวลาที่จะสัมผัสกับความร้อนน้อยลง
ทีมา: http://osh.labour.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=154:%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%97-%m-%E0%B9%92%E0%B9%95-%E0%B9%90%E0%B9%97-%M-%S&catid=12:environment&Itemid=203
มีที่ไหนอีกบ้างที่ต้องตรวจวัด?
โรงพยาบาล
ใช้ค่า WBGT Index เป็นการตรวจวัดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะอันตรายจากความร้อน โดย ที่จะมีผลทำให้พนักงานหรือผู้กระทำงานเกิดการเจ็บป่วยเช่น เป็นลม ช็อกหมดสติ หรือเพื่อไปประเมินอันตรายจากการทำงานให้กับหน่วยงานอื่นๆ
และสามารถใช้ ค่า HEAT INDEX ในการประเมินค่าความสบายได้อีกด้วย
ทหาร
ในการฝึกภาคสนามต่างๆ อาจพบสภาวะที่ทำให้เกิดการช็อคได้ การตรวจวัดค่า WBGT Index และ HEAT INDEX จึงถูกนำมาใช้เพื่อการป้องการการเกิดเหตุดังกล่าว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพ
เนื่องจากความร้อนเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ง่ายในประเทศไทย เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศในเขตร้อน ดังนั้น หน่วยงานต่างๆที่ต้องเฝ้าระวังทางสุขภาพ จำเป็น เป็นอย่างยิ่งในการตรวจวัดเพื่อวางแผนการป้องกันต่างๆ