ฤดูหนาว เท่ากับ ฤดูฝุ่น จริงหรือไม่

ฤดูหนาวเท่ากับฝุ่น

เมื่อฤดูหนาวมาถึง อากาศจะค่อยๆเคลื่อนที่มาปกคลุมกลายเป็นเกราะ ที่ทำให้อากาศไม่ไหลเวียน ทำให้เกิดการสะสมของมลพิษ เราเรียกสถานะช่วงนี้ว่า “อากาศปิด” ดังนั้น มาเตรียมตัวจัดการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือฝุ่น ซึ่งสามารถทำได้เหมือนการดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดระวังการก่อไฟ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญ อย่าลืม !! เตรียม “บ้าน” ให้พร้อมกัน

หลายคนใช้วิธีหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านเมื่อฝุ่นมา หลายคนมองว่าบ้านเป็นเหมือน Safe zone กันเลยทีเดียว

เราสามารถเพิ่มความสะอาดภายในบ้านด้วย “เครื่องฟอกอากาศ” เพื่อยกระดับความสะอาดกำจัดฝุ่นที่เล็ดลอดผ่านเข้ามาตามรอยรั่วของบ้าน

ยิ่งกลัวฝุ่นเข้าบ้าน เราก็ยิ่งไม่กล้าเปิดประตูหน้าต่าง แต่รู้มั้ยว่า นั่นก็ทำให้ การระบายอากาศ ภายในบ้านลดลง และ อาจทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค รวมถึงสารเคมีภายในบ้าน ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว เหมือน หนีเสือปะจระเข้ กันเลยทีเดียว

PM 2.5 อันตรายที่มากกว่าฝุ่น

ฝุ่นที่เรารู้จักในความคิดอาจเป็นเพียงก้อนของแข็งขนาดเล็ก และพอเป็น PM 2.5 ก็จะมีขนาดเล็ก เล็ก เล็ก เล็ก และเล็กกว่า

แต่ความจริง เราเรียกเค้าว่า Aerosol หรือ ละอองลอย ก็น่าจะตรงกว่า ถ้าจะให้เห็นภาพของละอองลอย ก็คือ ของที่ลอยไปเรื่อย ๆ ไม่ตกสักที !! และอาจจะไม่ใช่แค่เม็ดฝุ่นก็ได้ อาจจะเป็นหมอก ควัน เขม่า ไอเสีย ฝุ่นของสารเคมี อนุภาคเหล่านี้ลอยในอากาศในลักษณะกึ่ง สารละลาย และกึ่ง สารแขวนลอย

PM 2.5 ตอนนี้เราทุกคนแทบจะรู้จักกันเป็นปกติ รู้ว่าอันตราย รู้ว่าควรหลีกเลี่ยง และก็เริ่มมีการศึกษาไปยังขนาดที่เล็กลงเรื่อย ๆ เพราะยิ่งมีขนาดเล็กยิ่งเพิ่มความเสี่ยงได้มากขึ้น ยิ่งฝุ่นเล็ก ยิ่งมีโอกาสในการเดินทางไปยังอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ง่ายผ่านระบบเลือด ที่สำคัญบางตัวไม่ใช่ฝุ่นตามธรรมชาติ แต่คือฝุ่นที่แปลงร่างมาแล้ว เราเรียกฝุ่นพวกนี้ว่า ฝุ่นทุติยภูมิ

ฝุ่นทุติยภูมิ คือ ฝุ่นขนาดเล็กหรือละอองลอยในอากาศ ที่เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการเปลี่ยนรูปในบรรยากาศของก๊าซสารตั้งต้นบางประเภท เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซแอมโมเนีย (NH3) และกลุ่มก๊าซสารอินทรีย์ระเหยง่ายอีกจำนวนมาก ทำให้เกิดเป็นสารมลพิษในอากาศ

หนีฝุ่น เข้าบ้าน รอดจริงมั้ย?

การเข้าไปอยู่ในบ้าน ในอาคารในช่วงฝุ่นนั้น ช่วยหลีกหนีจากฝุ่นได้ เรียกได้ว่าบ้านเป็น Safe zone ที่ปลอดภัย แต่ถ้าให้ดียิ่งกว่ามาทำบ้านให้เป็น Comfort zone กัน

แล้วเราจะทำยังไงให้บ้านกลายเป็น Comfort zone ที่ทำให้เรารู้สึกสบายได้อย่างแท้จริง การจัดการให้บ้านเป็น comfort zone คือ การจัดการคุณภาพอากาศภายในบ้าน

จะรู้ได้อย่างไรว่าอากาศในบ้านดีหรือไม่
โดยปกติในตึกหรืออาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ที่มีการติดตั้ง ระบบปรับระบายอากาศ จะสามารถเติมอากาศจากภายนอกที่ผ่านกระบวนการกรองฝุ่น มาใช้เติมอากาศภายในอาคาร เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค และสารมลพิษต่างๆ ที่อาจตกค้างในอาคาร หรือติดตัวมากับคนที่ใช้อาคารได้

แต่ในประเทศไทยบ้านส่วนใหญ่ เราไม่มีการใช้งานระบบเหล่านั้น ส่วนใหญ่มีเพียงเครื่องปรับอากาศที่ใช้จัดการเรื่องความสบายภายในบ้าน และในช่วงฝุ่นมาก็จะเตรียมหยิบ เครื่องฟอก ออกมาใช้กัน

จัดการคุณภาพอากาศภายในบ้าน แบบครบวงจร

การจัดการอากาศภายในบ้านโดยเฉพาะในช่วงฝุ่นนั้น มี 2 สิ่งที่ต้องทำเป็นพิเศษ คือ การลดฝุ่น และ การเติมอากาศ ที่สำคัญต้องเป็นการเติมอากาศ ที่ไม่เพิ่มค่าไฟด้วย

การเติมอากาศจากภายนอกจะช่วยเจือจางสิ่งสะสมภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อดโรค กลิ่น หรือสารมลพิษต่างๆ การเติมอากาศ สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเปิดประตูหรือหน้าต่าง แต่ในฤดูฝุ่นแบบนี้การเปิดประตูหน้าต่างอาจส่งผลให้ค่าฝุ่นเพิ่มขึ้น พร้อมกับค่าไฟที่เพิ่มด้วย

แล้วจะเลือกอะไร? เติมอากาศ หรือ เปิดเครื่องฟอก
ในเทคโนโลยีปัจจุบัน เราไม่จำเป็นต้องเลือกสิ่งใด สิ่งหนึ่ง แต่เราสามารถจัดการได้ทั้งหมด ตั้งแต่ เลือกเติมอากาศที่ดีป้องกันฝุ่นเข้าบ้าน พร้อมกับระบบประหยัดพลังงานแบบ ERV ที่ทำให้อากาศที่เข้ามาไม่ร้อน ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนัก

ไม่ใช่แค่เติมอากาศแต่ต้องแลกเปลี่ยนอากาศ ไม่ใช่แค่แลกเปลี่ยนอากาศ แต่ คือ ระบบปรับคุณภาพอากาศ

อากาศดีในบ้านเลือกได้ด้วยเครื่องมือ ที่มีคุณสมบัติดังนี้

เติมอากาศจากภายนอก ผ่านระบบแผ่นกรอง ชนิดกรองหยาบ และกรองละเอียด (H13 Hepa filter)
แลกเปลี่ยนอากาศเพื่อปรับลดอุณหภูมิ ดัวย ERV (Energy Recovery Core)
ทำงานด้วย DC Brushless ที่เงียบและประหยัดพลังงาน
กรองฝุ่น กรองเชื้อโรค กรองไวรัส
ลด CO2 ภายในห้อง
Anion Generator กำจัดกลิ่นอับภายในบ้านด้วยประจุลบ

สรุป

การรับมือฝุ่นที่ดีต้องลดฝุ่น และ การเติมอากาศได้ ที่สำคัญต้องเป็นการเติมอากาศ ที่ไม่เพิ่มค่าไฟด้วย

 สินค้าแนะนำ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save