เครื่องวัดแสงมีกี่ประเภท

เครื่องวัดแสงมีกี่ประเภท

เครื่องวัดแสงมีกี่ประเภท

เครื่องวัดแสง คือ สิ่งที่เรานำมาใช้วัดค่าความสว่าง โดยการตรวจวัดอาจแตกต่างไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน  เครื่องวัดแสงหรือมิเตอร์วัดแสงที่มีจำหน่ายอยู่แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ
1. เครื่องวัดอุณหภูมิสี (Color Temperature Meter) ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิสีของแหล่งกำเนิดแสง
2. เครื่องวัดแสงแบบวัดแสงตกกระทบ (Incident Light Meter) ใช้สำหรับวัดแสงธรรมชาติและวัดแสงแฟลช
3. เครื่องวัดแสงแบบวัดแสงสะท้อน (Reflect Light Meter) มักจะเป็น Spotmeter หรือเครื่องวัดแสงสะท้อนเฉพาะจุดที่มีมุมการวัดแคบๆ ประมาณ 1 องศา

การวัดค่าความส่องสว่าง Illumination

การตรวจวัดในเครื่องวัดแสง (Lux meter) ใช้วัดความสว่างของการตกลงบนวัตถุในพื้นที่เฉพาะ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือการวัดความเข้มที่ความสว่างปรากฏต่อสายตามนุษย์

“การวัดค่าความส่องสว่างที่ตกลงบนพื้นผิวต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่” มีหน่วยการตรวจวัดเป็นลักซ์ (Lux) นอกจากนี้ยังแสดงเป็นลูเมนต่อตารางฟุต หรือ FC (foot candle)

1) Lux: หมายถึงการส่องสว่างที่ผลิตโดยแหล่งกำเนิด 1 ลูเมนบนพื้นที่ในรัศมี 1 ตารางเมตร

2) Foot Candle หรือ Lumens/Square foot หมายถึงไฟส่องสว่างที่ผลิตโดยแหล่งกำเนิด 1 1 ลูเมนบนพื้นที่ในรัศมี 1 ตารางฟุต

เครื่องวัดความสว่างของแสง…ในด้านความปลอดภัย

เครื่องวัดแสง ในงานด้าน “ความปลอดภัย” จะใช้เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิสี โดยปกติสีมาตรฐานหรืออุณหภูมิสีจะแสดงเป็นองศาเคลวิน (K) อุณหภูมิสีมาตรฐานสำหรับการสอบเทียบของลักซ์มิเตอร์ส่วนใหญ่คือ 2856 °K ซึ่งเป็นปริมาณที่มีสีเหลืองมากกว่าสีขาวบริสุทธิ์
จากประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๑ เนื้อความในหมวด ๓ ข้อ ๘ ระบุไว้ว่า “การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ต้องใช้เครื่องวัดแสงที่ได้มาตรฐาน CIE 1931 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยความส่องสว่าง (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า เช่น JIS และก่อนเริ่มการตรวจวัดต้องปรับ ให้เครื่องวัดแสงอ่านค่าที่ศูนย์ (Photometer Zeroing)”
ดังนั้นในการเลือกใช้เครื่องมือที่จะนำมาตรวจวัด ก็ควรจะต้องดูเรื่องมาตรฐานดังกล่าวว่าเครื่องมือที่เราใช้งานนั้นได้ตามมาตรฐานที่กฎหมายระบุหรือไม่ ตัวอย่างของเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน และเอกสารการรับรองมาตรฐานดังรูป

อันตรายของแสงสว่าง และผลกระทบต่อสุขภาพ

แสงสว่างน้อยเกินไปหรือมากเกินไปนั้นจะส่งผลต่อการมองเห็น นอกจากนั้นอาจส่งผลทางจิตใจ เช่นเบื่อหน่ายในการทำงาน และ ยังทำให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงานเกิดขึ้นได้ง่ายอีกด้วย

ความสำคัญของการจัดแสงสว่างในสถานประกอบการ

1. ความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติงาน
ต้องคำนึงถึงลักษณะงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสบายตา ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน ช่วยลดปัญหาของแสงสว่างที่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน

2. ความสำคัญต่อเจ้าของสถานประกอบการ
ลดค่าใช้จ่ายจากความสูญเสียต่างๆ และสามารถเพิ่มผลผลิต

มาตรฐานความเข้มแสงสว่าง

“ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐาน ความเข้มของแสงสว่าง” แบ่งออกเป็น 3 หมวดด้วยกัน คือ

  • มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณ “พื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ”
  • มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณ “ที่ลูกจ้างต้องทำงาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน”
  • มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ลักซ์) “บริเวณโดยรอบที่ให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทางาน โดยสายตามองเฉพาะจุดในการปฏิบัติงาน”

เครื่องวัดแสง ยี่ห้อไหนดี

ยี่ห้อไหนดี? ควรมีหลักในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องมือ ดังนี้

1. มาตรฐานการออกแบบเครื่องมือ

a. CIE 1931
b. ISO/CIE 10527
c. JIS

2. ฟังก์ชั่นในการทำงาน ต้องการอะไรบ้าง

a. ในการวัดแสง เราจะพบว่าค่ามีการเปลี่ยนไป เปลี่ยนมาเสมอ ซึ่งเป็นไปตามลักษณะปกติของแสง

  •  “ค่าเฉลี่ย” ในการตรวจวัดแต่ละจุด
  •  “Hold” การหยุดเพื่อดูค่าการตรวจวัด

b. การวัดค่าอ้างอิงจุดตรวจวัด เพื่อวางตำแหน่งของแสงให้กระจายตัวอย่างเหมาะสม

c. การเก็บบันทึกข้อมูล

  •  จัดเป็นทางเลือกสำหรับการตรวจวัด เพราะในการตรวจวัดแสง เราไม่ได้ทำการเก็บข้อมูลระยะยาวเหมือนการตรวจวัดเสียง, ความร้อน แต่เน้นการกำหนดจุดการตรวจวัด และนำไปคำนวณหาค่าเฉลี่ย หรือเป็นการตรวจวัดเฉพาะจุด

d. การสอบเทียบและปรับเทียบ

  •  นอกจากการสอบเทียบ แล้วเครื่องควรเลือกรุ่นที่สามารถปรับจูนค่า

3. มีหนังสือรับรองการสอบเทียบ

a. หนังสือรับรองการสอบเทียบช่วยให้เราสามารถยืนยันผลการตรวจวัดว่ามีค่าที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

เครื่องวัดแสง

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน หลอดไฟชนิด LED เป็นที่นิยมนำมาใช้ เพื่อประหยัดพลังงาน การวัดแสงด้วยเครื่องมือวัดแสงทั่วไป กับ การใช้เครื่องวัดแสง LED อาจพบค่าการตรวจวัดที่แตกต่างกัน
การตรวจวัดตามมาตรฐานการออกแบบ CIE 1931 ที่กฎหมายกำหนดนั้นเป็นการวัดที่ถูกออกแบบให้ “ตอบสนองตามสายตาของมนุษย์” เป็นหลัก ดังนั้นไม่ว่าเราจะใช้หลอดไฟชนิดใดๆก็ตามการเลือกประเมินผลต่อสุขภาพควรคำนึงถึงมาตรฐานในแง่ของการตอบสองของสายตาด้วย
ดังนั้นการเลือกเครื่องมือจึงควรเน้นเรื่องวัตถุประสงค์ของการตรวจวัดเป็นสำคัญ

สรุป

เครื่องมือตรวจวัดแสงที่ดีควรจะมีเอกสารรับรองการสอบเทียบ และเราต้องเลือกฟังชั่นการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ ความถนัด หรือข้อกำหนดตามกฎหมาย

กลับสู่สารบัญ

สินค้าแนะนำ

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save