มาตรฐานเครื่องมือวัด เสียง แสง ความร้อน

มาตรฐานเครื่องวัดเสียง แสง ความร้อน

ทำไม? ต้องมีการกำหนดมาตรฐานเครื่องมือกันด้วย

วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานบริษัท มาตรฐานการผลิต มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ก็เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการทำงาน ความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ ลดการผิดพลาดของงาน

สำหรับเครื่องมือตรวจวัด ก็จำเป็นต้องมีเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดค่าความถูกต้องในการตรวจวัด ซึ่งมาตรฐานเครื่องมือก็จะจำเพาะเจาะจงไปตามสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ เช่น

Heat Stress Monitor WBGT – ต้องได้มาตรฐาน ISO7243 ขององค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ

Sound – ต้องได้มาตรฐาน IEC 61672 Class 2 หรือดีกว่า

Noise – ต้องได้มาตรฐาน IEC 61252 Class 2 หรือดีกว่า

Acoustic Calibrator ต้องได้มาตรฐาน IEC 60942

กฎหมาย เสียง แสง ความร้อน

กฎหมายที่ เราอ้างอิง ถึงมาก ที่สุดคือ “กฎกระทรวง อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน2559” โดยสรุปแล้ว การเลือกเครื่องมือควรพิจารณา ดังนี้

1. เครื่องวัดความร้อน

  •  ต้องประกอบไปด้วย 3 หัววัดคือ อุณหภูมิกระเปาะเปียก(WET) อุณหภูมิกระเปาะแห้ง(Dry) และ โกลบ (Globe)
  •  ต้องได้รับการออกแบบและสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO 7243
  •  ต้องมี Calibration Verification Module

2.  เครื่องวัดเสียง การเลือกใช้เครื่องมือควรเลือกเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน IEC 61672 หรือ มาตรฐาน IEC 61252 สำหรับการตรวจวัดเสียงต้องพิจารณาลักษณะของเสียง เช่น

  • การวัดเสียงต่อเนื่องคงที่ เครื่องมือควรมีช่วงการตรวจวัดมากกว่า 115 dB และต้องตั้งค่า Weighting A Time response “Slow”
  • การวัดเสียงกระแทก เครื่องต้องรายงานค่า Peak C ได้ สูงถึง 140 dB และตั้งค่า Time response “Impulse”

3. เครื่องวัดแสง เครื่องมือต้องออกแบบตามมาตรฐาน C.I.E. 1931 หรือ ISO/CIE 10527 และต้องทำการ Zero ค่าก่อนการทำการตรวจวัด ทุกครั้ง

การเลือกเครื่องมือ ทำยังไง

อ่านเอกสาร DATA SHEETก็แล้ว CATALOGก็แล้ว เห็นเขียนชัดๆว่าได้มาตรฐาน IEC……/ISO………/

แต่!!!! ไม่ได้มาตรฐานซะงั้น บางที่หนักกว่าแปะมาตรฐานไว้ที่ตัวเครื่องเลย แต่ผ่านมั้ยนะ?

อืม……..แล้วในฐานะผู้ซื้อจะทำยังไงต่อ

ลองมาดูข้อแนะนำกัน

  1. ตรวจสอบช่วงการตรวจวัด…….. โดยอ้างอิงจากการออกแบบตามมาตรฐาน หรือหากมาตรฐานไม่ระบุ ให้ตรวจสอบมาตรฐาน หรือกฎหมายในการตรวจวัดที่ระบุไว้

2. ตรวจสอบค่าความแม่นยำ (Accuracy)….. อันนี้สำคัญมาก เพราะ ถ้าผิดจากมาตรฐานไป

3. ตรวจสอบการออกแบบของเครื่อง…… เช่น ISO 7243 ของเครื่องวัดความร้อน จะต้องให้มีการไหลเวียนอากาศผ่าน Sensor ทั้ง 3 หาก sensorใกล้กันเกินไปอาจส่งผลให้การอ่านค่าผิดไป แม้จะทำการสอบเทียบมาแล้วก็ตาม เนื่องจากในสภาพแวดล้อมจริง ไม่สามารถควบคุมปัจจัยแวดล้อมได้

ทำไม?เครื่องวัดเสียง ต้องวัดได้ถึง 140 dB

ตาม กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. ๒๕๕๙

ได้ระบุ “นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงมิให้ลูกจ้างได้รับสัมผัสเสียงในบริเวณสถานประกอบกิจการ ที่มีระดับเสียงสูงสุด (peak sound pressure level) ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (impact or impulse noise) เกิน ๑๔๐ เดซิเบล”

ดังนั้น เครื่องมือจึงต้อง มี….

  • ช่วงการตรวจวัดเสียง ได้ถึง 140 dB
  • ตั้งค่า Time Constant หรือ Response Time ที่ Impulse ได้
  • รายงาน ค่า PEAK C ได้

งานหนัก งานเบา ไม่เท่าไหร่ แต่เครื่องไม่ได้มาตรฐาน “หนักใจ” แน่นนอน

สำหรับการตรวจวัดความร้อนสำหรับงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เราจะต้อง ใช้ค่าที่เรียกว่า WBGT หรือ Wet Bulb Globe Temperature เนื่องจากการรับความร้อนของร่างกายจากสภาพแวดล้อม มีมากกว่า 1 ปัจจัย เราจึงต้องการ Sensor 3 ชนิด เพื่อทำงานร่วมกันในการตรวจวัด ดังนั้นข้อแนะนำในการเลือกเครื่องมือในตรวจวัดความร้อน

  1. ต้องประกอบไปด้วย 3 หัววัดคือ อุณหภูมิกระเปาะเปียก(WET) อุณหภูมิกระเปาะแห้ง(Dry) และ โกลบ (Globe) และ ควรเว้นระยะห่างระหว่าง Sensor เล็กน้อย เพื่อให้
  2. ต้องได้รับการออกแบบและสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO 7243

3. ต้องมี Calibration Verification Module

และเพื่อความสะดวก เครื่องมือควร คำนวณ ค่า WBGT Indoor และ Outdoor แบบอัตโนมัติได้

ทำไม? การวัดแสงต้องการเครื่องมือที่ออกแบบมาตามมาตรฐาน C.I.E. 1931 หรือ ISO/CIE 10527

แสงจัดเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเครื่องมือสามารถวัดค่าพลังงานได้ แต่หากต้องการให้การตรวจวัดนั้นเหมาะสมในการ “ประเมินผลกระทบต่อการมองเห็น” เราจำเป็นต้องทำให้เครื่องมือ มีความใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์มากที่สุด

ดังนั้น การออกแบบเครื่องมือเพื่อตรวจวัดประเมินผลกระทบต่อการมองเห็น จำเป็นต้องมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นเข้ามากำกับ เพื่อให้การตรวจวัดค่าที่ได้นั้นมีความถูกต้อง

เครื่องมือได้มาตรฐานแล้ว ก็ยังต้องการการสอบเทียบเสมอ

การเลือกเครื่องมือให้ดีตั้งแต่แรกนั้น จะทำให้เราทำงานง่าย ตรวจวัดรายงานผลกับมาตรฐานใด หรือหน่วยงานใดในโลกก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญ ที่ช่วยยืนยันว่าเครื่องมือเราผ่านการทดสอบจริงคือ การสอบเทียบมาตรฐาน เพื่อให้ได้ Calibration Certificate

Calibration Certificate ที่จะนำไปใช้ได้ เราควรตรวจสอบดังนี้

  1. ค่าความคลาดเคลื่อนต้องไม่เกินมาตรฐานของเครื่องมือ

2. สามารถทวนสอบ หรือสอบกลับได้ เช่น ใช้เครื่องมืออะไรสอบเทียบ ตรงตามมาตรฐานกำหนดหรือไม่

3. ระบุวันที่สอบเทียบ

4. ห้องปฏิบัติการสอบเทียบได้มาตรฐาน ISO 17025

กลับสู่สารบัญ

สรุป

การเลือกเครื่องมือตรวจวัดที่ดี ต้องพิจารณามาตรฐานเครื่องมือเป็นสำคัญ และต้องมาใบรับรองการสอบเทียบมาตรฐาน เพื่อใช้ในการยืนยันผลการทำงานของเครื่องมือด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก