สาระน่ารู้เกี่ยวกับ Clean Room

สาระน่ารู้ Cleanroom
ใครต้องมีห้อง Clean room

ใครต้องมีห้อง Clean room บ้าง

ปัญหาของห้อง Cleanroom คือ สิ่งปนเปื้อน อนุภาคขนาดเล็กและฝุ่นละอองต่างๆ ที่มาจาก ผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร กระบวนการผลิต รวมทั้งอากาศภายนอก สิ่งเหล่านี้สามารถสร้างปัญหาให้กับผลิตภัณฑ์หรืองานที่กำลังทำอยู่ ส่งผลให้งานที่ได้ขาดประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงช่วยในเรื่องการควบคุมเรื่องเชื้อโรคในโรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา

ตัวอย่างของอุตสาหกรรมต่างๆที่ต้องมีห้อง Cleanroom ได้แก่

  • การบินและอวกาศ การผลิตและการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้านการบินและอวกาศ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ หลอดทีวี จอแบน
  • เซมิคอนดักเตอร์ วงจรไฟฟ้า
  • ไมโครกลศาสตร์ ไจโรสโคป เครื่องเล่นคอมแพคดิสก์ ตลับลูกปืน
  • เลนส์ เลนส์ ฟิล์มถ่ายภาพ อุปกรณ์เลเซอร์
  • เทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตยาปฏิชีวนะ พันธุวิศวกรรม
  • โรงงานยา ยาฆ่าเชื้อ, ยาฆ่าเชื้อที่ใช้แล้วทิ้ง
  • เครื่องมือแพทย์ ลิ้นหัวใจ ระบบบายพาสหัวใจ
  • อาหารและเครื่องดื่ม การผลิตโรงเบียร์ อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
การแบ่งประเภทห้อง Clean room

Cleanroom แบ่งเป็นกี่ประเภท

เราสามารถจำแนกชนิดของ Cleanroom ได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น แบ่งตามลักษณะการใช้งาน, แบ่งตามลักษณะตามการไหลของอากาศ
ตัวอย่างการ แบ่งตามลักษณะตามการไหลของอากาศ

  • Conventional Clean Room ระบบไหลเวียนอากาศของห้องชนิดนี้จะเหมือนกับระบบปรับอากาศทั่วไป เพียงแต่เพิ่ม HEPA filter และใช้จำนวน air change ในห้องให้มากขึ้น
  • Horizontal Laminar Clean Room จ่ายลมความเร็วคงที่ผ่านผนังห้อง ที่มี HEPA filter เต็มพื้นที่ผิวของกำแพง และลมจะถูกดูดกลับแล้วนำกลับมาผ่าน HEPA filter วนเวียนไปเรื่อย ๆ ห้องชนิดนี้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรม อิเลคโทรนิคส์ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา โรงงานผลิตยา ในบางพื้นที่ของกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง จะมีการควบคุมความสะอาดของอากาศจนถึงระดับ ISO-5 ถึงระดับต่ำกว่า อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO14644-1
  • Vertical Laminar Flow Clean Room ห้องชนิดนี้จะติดตั้ง HEPA filter เต็มพื้นที่ผิวของเพดาน จ่ายลมในแนวดิ่งและลมกลับจะไหลผ่านพื้นที่เป็นตะแกรงหรือเป็นรูกลับไปสู่พัดลม วนเวียนไปเรื่อย ๆ ห้องแบบนี้จะมีระดับความสะอาดประมาณ Class 100 ตาม FS209 หรือ ISO-5 อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO14644-1 เหมาะกับโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ในบางพื้นที่ของการผลิต จะมีการควบคุมความสะอาดของอากาศจนถึงระดับ ISO-1 อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO14644-1
Clean room ต้องตรวจอะไรบ้าง

ห้อง Clean room ต้องตรวจวัดอะไรบ้าง

การตรวจสอบห้อง Cleanroom ตามมาตรฐาน ISO 14644 ประกอบด้วย

Primary cleanroom tests include:

  • Airflow Velocity and Uniformity Tests
  • Airflow Volume and Uniformity Tests
  • HEPA Filter Installation Leak Tests
  • Airborne Particle Count Cleanliness Classification Tests
  • Room Pressurization tests

Optional tests include:

  • Airflow Parallelism Tests
  • Recovery Tests
  • Lighting Level and Uniformity Tests
  • Sound Level Tests
  • Vibration Level Tests
  • Temperature and Humidity Uniformity Tests
  • Air Change Rete (ACH) Tests
Cleanroom ทำความสะอาด

ควรทำความสะอาดห้อง Cleanroom บ่อยแค่ไหน??

เรามีคำตอบและแนวทางให้ แต่อย่าลืมเรื่องอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เหมาะกับงานด้วยนะ

ทำความสะอาดห้องครีนรูม

ทำความสะอาดห้อง Cleanroom

ขึ้นชื่อว่าห้อง Cleanroom ความสะอาดต้องเป็นเรื่องใหญ่ นอกจากการควบคุมระบบปรับระบายอากาศแล้ว การเลือกวัสดุอุปกรณ์ทำความสะอาดต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ โดยสามารถพิจารณาการเลือกได้ ดังนี้

  • ต้องมี Data sheet ที่ระบุคุณสมบัติชัดเจน เพื่อให้ผู้เลือกสามารถเลือกได้เหมาะสมตามมาตรฐานของงานที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยา อิเล็กโทรนิค โรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการต่างๆ
  • ต้องผลิตและบรรจุ ภายในห้อง Cleanroom
  • ปลดปล่อยเส้นใยต่ำ ไม่ทำให้เกิดอนุภาค หรือฝุ่นภายในห้อง Cleanroom มากขึ้น
    นอกจาก การเลือกวัสดุอุปกรณ์ วิธีการเช็ดก็ต้องทำให้ถูกวิธีด้วย
AeroTrak®+ Portable

Particle Counter A100 Series

AeroTrak®+ Portable Airborne Particle Counters

  • เครื่องนับอนุภาคในอากาศแบบพกพา AeroTrak®+ (APC) คือ เครื่องมือตรวจวัดอนุภาคในห้อง CleanRoom ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับทุกอุตสาหกรรม เพื่อใช้สำหรับการรับรอง การตรวจสอบ และงานเฉพาะทางสำหรับห้องคลีนรูมรวมถึงการทดสอบก๊าซและการสแกนฟิลเตอร์
  • เครื่องนับอนุภาคแบบพกพา TSI AeroTrak®+ A100 Series
    ไม่ต้องใช้คู่มือในการใช้งาน จึงช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดของผู้ใช้ได้อย่างมาก และทำให้การตรวจสอบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมง่ายขึ้น
  • มาตรฐานที่สร้างขึ้นสำหรับการกำหนดค่าและรายงานเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำคัญ
    ISO 14644-1:2015 – ห้องสะอาดและสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมที่เกี่ยวข้อง
    ISO 21501-4:2018 – มาตรฐานการสอบเทียบ
    ภาคผนวก EU GMP 1 (2008 และ 2022) – แนวปฏิบัติที่ดีในการผลิต: การผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ปราศจากเชื้อ GMP ประเทศจีน
    เมื่อการรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้น สามารถพิมพ์หรือส่งออกข้อมูลเป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไซต์งานหรือที่สำนักงาน และยังสามารถนำข้อมูลมาจากหลายเครื่องมือมาทำ Report ได้
ระดับความสะอาด Clean room

ระดับความสะอาดของห้อง Cleanroom ISO14644-1 กับ EU GMP

สำหรับในโรงงานผลิตยา การใช้งานมาตรฐาน ISO 14644-1 อาจไม่เพียงพอ ยังมีการใช้มาตรฐานอื่นด้วยเช่น FDA และ EU GMP (EU Guide to Good Manufacturing Practice ) หรือ การจำแนกตามมาตรฐานทางเภสัชกรรม (Pharmaceutical Cleanroom Classification)” โดย การจำแนกตามมาตรฐาน EU GMP แบ่งระดับความสะอาดโดยยึดหลักแนวทางของ GMP ได้แก่ GRADE A,B,C,D ซึ่ง GMP นอกจากการควบคุมปริมาณอนุภาคแล้ว ยังต้องควบคุมเชื้อจุลินทรีย์อีกด้วย

สรุป

ห้องปลอดเชื้อเป็นสิ่งสำคัญในหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย หากคุณต้องการเริ่มต้นใช้งานหรือปรับปรุงระบบ Clean Room ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้มาตรฐานที่เหมาะสมที่สุด

กลับสู่สารบัญ

สินค้าแนะนำ

Facility Monitoring System

Particle Counter A100 Series

Facility Monitoring System

Real time Particle Monitoring System

Facility Monitoring System

Handheld Particle Counter TSI 9306

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save