ก่อนที่จะเลือกเครื่องวัดความร้อน เช็คให้มั่นใจถึงวัตถุประสงค์ในการตรวจวัด วัดเกี่ยวกับอะไร ต้องรายงานผลตามกฎหมายหรือไม่ ต้องนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขหรือเปล่า
การตรวจวัดดัชนีความร้อนในสถานประกอบการ
ในการตรวจวัดดัชนีความร้อนในสถานประกอบการ หรือ เพื่อประเมินความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงานนั้น มีสิ่งสำคัญ 2 อย่างที่ควรทราบคือ การเลือกเครื่องวัดความร้อนที่จะใช้ในการตรวจวัด และ การลงมือตรวจวัดจริง
การเลือกเครื่องวัดความร้อน
สำหรับการเลือกเครื่องวัดความร้อนที่จะใช้ในการตรวจวัดและวิเคราะห์ตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องมือที่สามารถอ่านค่าระดับ “อุณหภูมิเวตบัลโกลบ” Wet Bulb Globe Temperature ได้โดยตรง โดยที่เครื่องนั้นจะต้องได้มาตรฐานต่างๆ ดังนี้
ISO 7243 (International Organization for Standardization: ISO)
ทำการปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องมือวัดระดับความร้อน WBGT ด้วยอุปกรณ์ปรับเทียบของเครื่องมือ เช่น Calibration Verification Module
ทำการปรับเทียบทั้งเครื่องวัดระดับความร้อน และ Calibration Verification Module จากห้องปฏิบัติการสอบเทียบมาตรฐาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เครื่องวัดความร้อนตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
การเลือกเครื่องวัดความร้อนเพื่อใช้งานตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ควรพิจารณา 3 ข้อ ที่ได้กล่าวไปแล้ว และพิจารณารายละเอียดตามหัวข้อ ดังนี้ด้วย
หัววัดอุณหภูมิชนิดกระเปาะเปียก (Natural wet bulb temperature sensor) จะต้องเป็นไปตามคุณลักษณะดังนี้
- ชุดหัววัดอุณหภูมิต้องเป็นทรงกระบอก
- ชุดหัววัดอุณหภูมิทั้งหมดจะต้องถูกห่อหุ้มโดยปลอกหุ้มสีขาว ทำจากผ้าวัสดุที่ซึมซับน้ำได้ดี เช่นผ้าฝ้าย
- กระเปาะเก็บน้ำต้องออกแบบมาเพื่อป้องกันการแผ่รังสีจากสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีผลเพื่อป้องกันการแผ่รังสีจากสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีผลให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ภายในอุณหภูมิสูงขึ้น
หัววัดอุณหภูมิชนิดโกลบ (Globe temperature sensor) อยู่กึ่งกลางของประเปาะทรงกลมที่สีดำด้าน มีความแม่นยำในการตรวจวัดในช่วง 20-50 องศาเซลเซียส คือ +/- 0.5 องศาเซลเซียส
หัววัดอุณหภูมิอากาศ (Dry Bulb Sensor) เป็นการตรวจวัดอุณหภูมิอากาศ ต้องมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันการแผ่รังสี แต่ต้องไม่ขัดขวางการไหลเวียนของอากาศ
Calibration Verification Module หรืออุปกรณ์สอบเทียบเครื่องวัดความร้อนสำคัญอย่างไร
Calibration Verification Module คือ อุปกรณ์ที่ กฎหมายและมาตรฐานได้กำหนดไว้ว่า เครื่องตรวจวัดดัชนีความร้อน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับตรวจเช็คความถูกต้องของเครื่องมือก่อนการใช้งาน ดังนั้นจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและสำคัญ เพื่อตรวจสอบการทำงานก่อนการตรวจวัดจริง
** Calibration Verification Module ควรเป็นอุปกรณ์แยกจากตัวเครื่องเพื่อทำการตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือ
การตรวจวัดระดับความร้อน WBGT และการกำหนดจุดตรวจวัด
นอกจากการเลือกเครื่องวัดความร้อน แล้วการกำหนดจุดตรวจวัด ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ต้องตรวจวัดดัชนีความร้อนในจุด หรือพื้นที่ที่ผู้ปฏิบัติงานนั้นมีความเสี่ยงต่อการได้รับสัมผัสมาก และหากปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสภาพความร้อนแตกต่างกันตั้งแต่ 2 พื้นที่ขึ้นไป ต้องวัดสภาพความร้อนทั้ง 2 พื้นที่ แล้วเลือกช่วงระยะเวลา 2 ชั่วโมง (ค่า WBGT ที่มากที่สุดในช่วง 2 ชั่วโมง) โดยนำค่า WBGT มาคำนวณค่าเฉลี่ย
การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดดัชนี ความร้อนWBGT ควรให้หัววัด (Sensor) อยู่สูงในระดับหน้าอกของผู้ปฏิบัติงาน และติดตั้งเครื่องมือไว้ตามระยะเวลาตามที่วิธีการของเครื่องมือนั้น ๆ ได้กำหนดไว้ แล้วจึงเริ่มบันทึกค่า (เช่น ติดตั้งเครื่องมือในพื้นที่อย่างน้อย 30 นาทีแล้วจึงบันทึกค่าหรือตามที่ผู้ผลิตกำหนด)