หลังจากเรารอคอยดูตัวเลขและค่าแนะนำด้านคุณภาพอากาศในอาคาร ตอนนี้ประกาศมาแล้วจ้า หลังจากความพยายามของหลายหน่วยงาน ครั้งนี้กรมอนามัยได้ออก ประกาศ กรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย เน้นการเฝ้าระวังในอาคารสาธารณะก่อน
ถึงแม้ว่ายังใช้เป็น “เกณฑ์การเฝ้าระวัง” โดยยังไม่มีบทลงโทษใดๆ แต่ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และ เผ้าระวังได้จริง
ทำไม ? ต้องเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะ
โรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจส่วนใหญ่ สามารถกระจายได้ดีในพื้นที่ปิด เช่นในช่วงที่มีการแพร่กระจายของ COVID เรามักพบเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการติดต่อจากในอาคารเป็นส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นว่าการอยู่ในพื้นที่มีคุณภาพอากาศไม่มี สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการติดต่อได้
ทำให้ช่วงหนึ่งกระทวงสาธารณสุขต้องพยายมออกข้อแนะนำ หรือเกณฑ์ที่เข้ามาช่วยให้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ไม่ว่าจะเป็น COVID FREE SETTING, SHA plus ที่ได้สอดแทรก เรื่อง การระบายอากาศ ซึ่งเป็นการจัดการขั้นพื้นฐานของคุณภาพอากาศภายในอาคาร
เฝ้าระวังอะไรบ้าง…ในเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคาร
การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคาร กรมมอนามัยกำหนด การเฝ้าระวังออกเป็น 2 คือ ภาวะสบายเชิงความร้อน และมลภาวะอากาศภายในอาคาร โดยมีการกำหนดความหมายของค่าต่างๆดังนี้
“ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากกาศภายในอาคาร “ หมายถึง ค่าที่ใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงสภาพอากาศภายในอาคาร ที่เกี่ียวข้องกับภาวะสบายเชิงความร้อน และมลภาวะอากาศภายในอาคาร ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายและสุขภาพอนามัยของผู้ใช้อาคาร
“ภาวะสบายเชิงความร้อน (Thermal comfort) “ หมายถึง สภาวะที่ผู้ใช้อาคารเกิดความรู้สึกสบายหรือไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพที่เป็นลมาจากอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และการเคลื่อนที่ของอากาศ
“ มลภาวะอากาศภายในอาคาร (Indoor air pollution) หมายถึง สภาพอากาศภายในอาคารที่มีสิ่งปนเปื้อนอยู่ในปริมาณและระยะเวลาที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้อาคาร
“ ค่าที่ยอมรับได้ ( Acceptable value) “ หมายถึง ค่าเฉลียของพารามิเตอร์ทางด้านสุขภาพอากาศภายในอาคารที่ผู้ใช้อาคารจะได้รับโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้อาคาร
ค่าพารามิเตอร์ และเกณฑ์การยอมรับได้ ในมาตรฐาน IAQ
1. คุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ
1.1 ภาวะสบายเชิงความร้อน (Thermal comfort)
1.2 สารปนเปื้อนในอากาศ (Air contaminants)
วิธีการตรวจวัด และ เครื่องมือที่นำไปใช้ได้ในการตรวจัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร
วิธีการตรวจวัด ใช้ค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมง หรือ ตรวจวัด 30 นาที ทั้งหมด 4 ช่วงเวลาตลอดระยะเวลาการใช้อาคารเฉพาะ PM 2.5 และ PM 10 ใช้ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง
เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
อาคารสาธารณะ”หมายความว่า อาคารที่ใช้เพื่อประโยคน์ในการชุมนุมคนได้โดยทั่วไปเพื่อกิจกรรมทางราชการ การเมือง การศึกษา การศาสนา การสังคม การนันทนาการ หรือการพาณิชยกรรม ที่มีการใช้ระบบปรับอากาศ ดังนี้
(1) อาคารสำนักงาน
(2) อาคารห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต
(3) อาคารศูนย์ประชุม หอประชุม ห้องประชุม ศูนย์แสดงสินค้า
(4) อาคารสถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
(5) อาคารสถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม
(6) อาคารสถานที่ออกกำลังกาย สถานกีฬาในร่ม
(7) อาคารสถานศึกษา
(8) อาคารโรงแรม
(9) อาคารโรงมหรสพ
(10) อาคารขนส่งสาธารณะ
(11) หอสมุด หอศิลป์ พิพิธภัณฑสถาน
(12) อาคารศาสนสถาน
(13) อาคารสถานดูแลผู้สูงอายุ
(14) อาคารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
ทั้งนี้ อาคารสาธารณะประเภทอื่นสามารถนำค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยที่ดีของผู้ใช้อาคาร
สรุป
ประกาศ กรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565 ได้มุ้งเน้นไปยังอาคารสาธารณะ เพื่อช่วยดูแลสุภาพโดยรวมของประชาชน ซึ่งการจะเฝ้าระวังได้ดี มีค่าไม่เกินเกณ์มาตรฐานนั้น คงจะหลีกหนีไม่พ้นการควบคุมและดูแลระบบระบายอากาศให้มีประสิทธิภาพที่ดี