การสอบเทียบเครื่องมือวัด คือ การนำเครื่องมือที่ใช้ไป “เข้าสอบ”เทียบกับมาตรฐาน เช่น ถ้ามีเครื่องชั่งน้ำหนัก ก็ต้องเทียบกับตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน
การสอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม
ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ทำการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อเป็นการยืนยันว่าระบบการทำงานจะปกติ การสอบเทียบเครื่องมือแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องมือ มาตรฐานการผลิตของเครื่องมือ ดังนั้นการสอบเทียบต่างๆ ควรมีการสอบกลับได้ชัดเจนว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่
ทำไม ? ผู้ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมถามหา ISO 17025
การสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือ หากพบข้อผิดพลาดก็จะได้แก้ไข ปรับค่าให้ตรงตามค่ามาตรฐานของเครื่องมือแต่ในการทำงานจริงการสอบกลับไปยังค่าความถูกต้องต่างๆนั้นสำคัญมาก โรงงานอุตสาหกรรมจึงเน้นเลือก “มาตรฐาน ISO 17025” ซึ่ง เป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและ ข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยมาตรฐานนี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมการทดสอบและหรือสอบเทียบ
แค่ได้ ISO 17025 แล้ว จบหรือเปล่า?
ในความเป็นจริงแล้ว การได้มาซึ่ง ISO 17025 ถึงแม้จะสร้างความมั่นใจได้ แต่ผู้เข้ารับบริการก็ควรตรวจสอบมาตรฐานอ้างอิงที่ใช้ในการสอบเทียบด้วย เช่น เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) ควรรายงานผลการสอบเทียบได้ตามข้อกำหนดของมาตรฐานเครื่องมือ IEC 61252
ข้อดีและประโยชน์ของการสอบเทียบเครื่องมือ
เครื่องมือทางด้านอาชีวอนามัย, ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็ค, บำรุงรักษา และสอบเทียบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากละเลยจะส่งผลเสียหายกับอะไหล่ชิ้นส่วนภายในและส่งผลให้ไม่สามารถนำเครื่องมือไปตรวจวัดได้ในทันทีหากมีเหตุจำเป็นที่ต้องนำเครื่องมือไปใช้งานดังนั้นการสอบเทียบเครื่องมือจึงควรจะต้องทำการสอบเทียบประจำทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยทุกๆ 1 ปี
ข้อดีของการสอบเทียบเครื่องมือ
- เครื่องมือได้รับการตรวจเช็คและทำความสะอาดเพื่อยืดอายุการใช้งาน
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายเปลี่ยนจากการซ่อมหนักเป็นซ่อมเปลี่ยนเฉพาะชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพตามระยะเวลา
- เครื่องมือมีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา
- เครื่องมือมีความเสถียรและมีประสิทธิภาพในการวัด การรายงานผล
- เครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรงและแม่นยำ
- สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ผลิตได้มาตรฐาน ด้วยการวัดด้วยเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือ
- ลดการส่งคืนสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ลดต้นทุนในการผลิต
- การวัดด้วยเครื่องมือที่แม่นยำ ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ในการผลิตได้
- ป้องกันหรือลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นกับแรงงาน ในระหว่างการทำงานได้
- การสอบเทียบเครื่องมือวัดเพื่อให้สอดคล้องกับมาตฐานต่างๆ เช่น ISO/IEC 17025 , ISO/TS 16949 , ISO 9000 เป็นต้น
การสอบเทียบเครื่องมือในหัวข้อต่างๆ
- สอบเทียบเครื่องวัดเสียง
- สอบเทียบเครื่องวัดเสียงสะสม
- สอบเทียบ Acoustic Calibrator
- สอบเทียบเครื่องวัดความร้อน
- สอบเทียบอื่นๆ
สอบเทียบเครื่องวัดเสียง
การสอบเทียบเสียง ไม่ใช่แค่ได้ ISO17025 แต่ต้องตรงตามข้อกำหนด IEC 61672-3 ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตของเครื่อง
การสอบเทียบเครื่องวัดเสียงที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล IEC 61672-3 จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
-
- ส่วนที่ ตัวเครื่อง + ไมโครโฟน ต้องสอบเทียบหัวข้อ
-
-
- Indication at the calibration frequency
- Noise ของไมโครโฟน
- สอบเทียบความดังเสียงที่ความถี่ 125 – 8000 Hz (IEC 61672-3 : 2013) และ 125 – 4000 Hz (IEC 61672-3 : 2006)
-
-
- ส่วนที่ ตัวเครื่อง ต้องสอบเทียบในหัวข้อ
1.Self-generated noise
2.Electrical signal tests of frequency weighting
3. Frequency and time weighting at 1 kHz
4. Long-term stability
5. Level linearity on the reference level range
6. Level linearity including the level range control
7. Toneburst response
8. C-weighted peak sound level
9. Overload indication
10. High-level stability
- ส่วนที่ ตัวเครื่อง ต้องสอบเทียบในหัวข้อ
แค่ใช้ Sound Calibrator เสอบเทียบเสียบ….ก็ได้หรอ??
เราอาจจะเคยเห็นการสอบเทียบเครื่องวัดเสียงด้วย Sound Calibrator ซึ่งอาจจะมีค่า 94, 114 dB ที่ 1000 Hz หรือ 94, 114 dB ที่ 250 Hzบางที่หนักกว่า…มีการออกใบรับรองผลสอบเทียบ แถมบางที่มีการได้ตรารับรอง ISO 17025แล้วการสอบเทียบที่จุดสอบเทียบเท่านี้ถูกต้อง เพียงพอแล้วหรือ คำตอบคือ ไม่ถูกต้อง และไม่เพียงพอ แต่ที่เราจำเป็นต้องใช้ เพราะวัตถุประสง์ของการใช้ Sound Calibrator คือต้องการตรวจสอบหน้างานก่อนตรวจวัดจริง ตรวจสอบตามสภาพความดันบรรยากาศ อุณหภูมิ ความชื้น
สอบเทียบเครื่องวัดเสียงสะสมการสอบเทียบเครื่องวัดเสียงสะสม หรือ Noise dosimeter นั้น ต้องยืนยันผลตามมาตรฐานการผลิต คือ IEC 61252 แต่ก็ยังมีหลายที่กลับไปอ้างอิงมาตรฐานที่ IEC 61672-3 ซึ่งเป็นของเครื่องวัดเสียงบางที่เลือกใช้แค่ Sound Calibrator ซึ่งอาจจะมีค่า 94, 114 dB ที่ 1000 Hz หรือ 94, 114 dB ที่ 250 Hzมาสอบเทียบ
การสอบเทียบตามมาตรฐาน IEC 61252สิ่งที่แตกต่างจากการสอบเทียบเครื่องวัดเสียง (Sound level meter) คือเครื่องวัดเสียงติดตัวบุคคลจะมีการวัดปริมาณเสียงต่อเวลา (Sound Exposure Measurement) และตัวเครื่อง ต้องสอบเทียบใน 3 หัวข้อ
Linearity of response to steady signals เป็นการสอบเทียบเพื่อดูการตอบสนองที่สัญญาณเสียงความดังต่างๆ แล้วจับเวลาวัดปริมาณเสียง Sound Exposure
Response to short-duration signals เป็นการสอบเทียบเพื่อดูการตอบสนองต่อสัญญาณเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงสั้นๆ แล้วจับเวลาวัดปริมาณเสียง Sound Exposure
Response to unipolar pulse เป็นการสอบเทียบเพื่อดูสัญญาณเสียงในรูปแบบบวก และลบพร้อมจับเวลาวัดปริมาณเสียง Sound Exposure เปรียบเทียบด้านบวกและลบว่าไม่ผิดเพี้ยน
ต้องสอบเทียบครบตามนี้จึงจะถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานการสอบเทียบเครื่องวัดเสียงติดตัวบุคคลมาตรฐาน IEC 61252 และถ้าจะให้ดีควรจะสอบกลับได้ด้วย ISO 17025
สอบเทียบ Acoustic Calibrator
เครื่องกำเนิดเสียงมาตรฐาน หรือ Acoustic Calibrator ต้องสอบเทียบและผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน IEC 60942การสอบเทียบจะแบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ
สอบเทียบความดังเสียง (Sound pressure level) เป็นการวัดความดังเสียงที่ออกมาจากเครื่องกำเนิดเสียงมาตรฐาน โดย Laboratory standard microphone หรือ Working standard microphone และ Acoustic calibrator ตาม IEC 61094 โดยปกติจะมีค่า Nominal ที่ 94, 114 dB
สอบเทียบความถี่ (Frequency) เป็นการวัดความถี่ของเสียงที่ออกมาว่าผิดเพี้ยนไปจากค่า Nominal ไปเท่าไร โดยปกติจะอยู่ที่ 250, 1000 Hz
สอบเทียบความเพี้ยนโดยรวมของสัญญาณเสียง (Total harmonic distortion + Noise) เป็นการวัดความเพี้ยนทั้งหมดของสัญญาณที่มากสุดต่อสัญญาณรบกวนอื่นๆตลอดช่วงการวัด 20 Hz – 20 kHz
และอย่าลืมเรื่อง Lab ที่ได้มาตรฐาน ISO 17025
สอบเทียบเครื่องวัดความร้อน
การสอบเทียบเครื่องมือวัดดัชนีความร้อน Heat stress Monitor นั้น จะทำได้อย่างไร เพราะมีถึง 3 หัววัด ตามการได้รับความร้อนของคน โดยส่วนประกอบของตัวเครื่องมือจะมี Sensor 3 sensor ซึ่งจำลองเงื่อนไข 3 แบบ คือ
การรับความร้อนจากการแผ่รังสีความร้อนจะใช้ Sensor Globe
การระบายความร้อนเนื่องจากความชื้นจะใช้ Sensor WET
การรับความร้อนจากอุณหภูมิอากาศจะใช้ Sensor Dry
ดังนั้นความแม่นยำเรื่องของการวัดอุณหภูมินั้นสำคัญมาก เนื่องจากมีความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคน และตามมาตรฐาน ISO 7243 เครื่องวัดดัชนีความร้อนต้องมีความแม่นยำ +/- 0.5 oC และเครื่องต้องสอบเทียบเป็นประจำทุกปี
เทคนิคการสอบเทียบเครื่องวัดความร้อน
วิธีสอบเทียบด้วยเทคนิค Comparison method คือเทคนิคเปรียบเทียบการวัดกับเครื่องวัดอุณหภูมิมาตรฐาน ผ่านแหล่งกำเนิดอุณหภูมิมาตรฐานที่มีค่าความคงที่ และการกระจายตัวของอุณหภูมิดีมาก เครื่องวัดความร้อน ควร Calibrate กี่จุด? ที่อุณหภูมิเท่าไหร่? เครื่องวัดความร้อนควรสอบเทียบที่ “อุณหภูมิช่วงที่ใช้งาน “โดยการกำหนดจุดสอบเทียบให้ครอบคลุมขั้นต่ำ 3 จุดสอบเทียบ เช่น หากอุณหภูมิช่วงที่ใช้งานคือ 20 – 50 C จุดสอบเทียบที่แนะนำคือ 20, 35, 50 C ซึ่งจะทำให้เราเห็นแนวโน้มความผิดพลาดของเครื่องมือได้แต่หากต้องการเพิ่มจุดสอบเทียบอย่างละเอียด ก็สามารถทำได้หรือถ้ายังไม่มั่นใจเรื่องการกำหนดจุด ปรึกษากับทีมงานฝ่ายบริการของเราได้