ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จัก เครื่องวัดคุณภาพอากาศ เราต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าคุณภาพอากาศ คืออะไร
คุณภาพอากาศ คือ
คุณภาพอากาศ คือ อากาศสะอาดที่ไม่มีมลพิษปนเปื้อน ซึ่งในที่นี้ เราจะแบ่งออกเป็น
- คุณภาพอากาศนอกอาคาร หรือในสิ่งแวดล้อม
- คุณภาพอากาศภายในอาคาร
คุณภาพอากาศภายนอกอาคาร หรือในสิ่งแวดล้อม
โดยปกติโลกของเราะถูกปกคลุมด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งแต่ละชั้นก็จะทำหน้าที่แตกต่างกันไป ประกอบไปด้วย 5 ชั้นบรรยากาศ ดังนี้
- ชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) เป็นชั้นที่เราใช้อากาศในการหายใจ ซึ่งประกอบด้วยไอน้ำจำนวนมาก ทำให้เกิดเมฆ พายุ และฝน ได้
- ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) แก๊สสำคัญในชั้นนี้ คือ โอโซน ซึ่งช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ และอากาศมีการเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ จึงเหมาะกับการเดินทางทางอากาศ
- ชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) มีอากาศเบาบางมาก แต่ก็มากพอที่จะทำให้ดาวตกเกิดการเผาไหม้ และเป็นชั้นที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์
- ชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) เป็นชั้นหลักที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ อนุภาคในชั้นนี้มีคุณสมบัติสะท้อนคลื่นวิทยุได้ จึงเป็นชั้นที่ใช้ส่งสัญญาณวิทยุสื่อสาร เนื่องจากเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า “อิออน” ที่เกิดจากการแตกตัว เมื่อถูกกระตุ้นด้วยรังสี UV จากดวงอาทิตย์ อิออนเหล่านี้จะ รวมถึงการเกิดแสงเหนือและแสงใต้ หรือ “ออโรรา”
- ชั้นเอ็กโซสเฟียร์ (Exosphere) อากาศค่อยๆ เจือจางลง เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น และเจือจางจนเข้าสู่อวกาศ**เรียบเรียงข้อมูลจาก นิตยาสารสาระวิทย์ โดย สททช.
ซึ่งชั้นบรรยากาศที่เราใช้อากาศในการดำรงชีวิตอยู่นั้นจะมีสภาพอากาศค่อนข้างคงที่ คือ องค์ประกอบหลักของไนโตรเจน ประมาณ 78% ออกซิเจนประมาณ 21% และมีก๊าซอื่นๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเฉื่อย โดยถ้าสัดส่วนนี้ ไม่มีการเปลี่ยนไปไปมากนัก เราจะถือว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์
แต่ในปัจจุบันอากาศบางส่วนถูกปนเปื้อนไปด้วยฝุ่น ควัน ก๊าซพิษต่างๆ ซึ่งหากมากจนทำให้สัดส่วนของอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง เราจะเรียกว่า “มลพิษทางอากาศ”
ในประเทศไทย “กรมควบคมมลพิษ” ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศไว้หลายพารามิเตอร์ โดยค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศโดยทั่วไป จะมีการควบคุมไว้ที่ค่าต่างๆตามตารางด้านล่าง
คุณภาพอากาศในอาคาร (INDOOR AIR QUALITY – IAQ)
คุณภาพอากาศในอาคาร คือ อากาศภายในอาคารที่ดี แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าดี?
หลายครั้งเราคิดว่าการอยู่ในบ้าน หรืออาคารนั้นจะช่วยป้องกันมลพิษจากภายนอกได้ แต่เมื่ออยู่ในอาร หรือบ้านนานๆ กลับพบกลุ่มอาการที่เรียกว่า Sick Building Syndrome เช่น มึนหัวหรือปวดหัว,อาการระคายเคืองผิวหนังหรือตา,,หายใจไม่สะดวก ไอ หรือ จาม ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายไปเมื่อเราออกจากอาคาร
ปัญหาของคุณภาพอากาศในอาคาร สามารถได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
- ปัญหาที่เกิดจากความสบาย (Thermal Comfort) และการระบายอากาศ
ซึ่งเป็นปัญหาหลักในเรื่องคุณภาพอากาศในอาคาร โดยที่ระบบระบายอากาศ ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการไหลของอากาศ, อัตราแลกเปลี่ยนอากาศระหว่างภายนอกและภายในอาคาร รวมถึง อุณหภูมิ และความชื้นให้ เหมาะสม รวมถึงนำสารมลพิษออกไปสู่นอกพื้นที่ด้านนอกอาคาร - ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากสารมลพิษภายในอาคาร เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5, และPM 10), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ (CO), ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), สารระเหยอินทรีย์ง่าย (VOCs), ฟอร์มัลดีไฮด์ และจุลชีพ เป็นต้น
ปัญหาคุณภาพอากาศในอาคารที่ไม่เหมาะสม เกิดขึ้นได้อย่างไร
- ขาดระบบระบายอากาศที่ดี
- ขาดการจัดการอาคารที่ดี เช่นมีการแบ่งหรือกั้นห้องมากเกินไป โดยไม่ได้คำนึงถึงการไหลเวียนของอากาศ รวมถึงการขาดการควบคุมเรื่องการซ่อมแซมและต่อเติมภายในอาคาร
อันตรายที่พบได้จากการไม่ควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร
สรุป
อากาศทั้งภายนอกและภายในอาคารเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เลี่ยงไม่ได้ ควรช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา และไม่สร้างมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และหมั่นตรวจสอบระบบระบายอากาศภายในบ้านและอาคาร เพื่ออายุที่ยืนยาวของทุกคน